ชั้นปี

วิชา

ชนิดของคำถาม

วิทยาศาสตร์ มัธยมต้น

ใครก็ได้ย่อให้ผมหน่อยครับ🥺

ออร์แกเนลล์ที่พบทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีหลายชนิด เช่น วิทยาศาสตร์ Science H.1 H1 85 * ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นแหล่งผลิตพลังงานให้เซลล์ โดยสลายสารอาหารที่เซลล์ได้ รับมาให้เป็นพลังงานไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ ** ไรโบโซม (Ribosome) เป็นแหล่งสร้างโปรตีน * กอลจิ คอมเพลกซ์ (Golgi complex) เป็นแหล่งรวบรวม บรรจุ และขนส่งสารต่าง ๆ * ไลโซโซม (Lysosome) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ ทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งเอนไซม์ ที่มีสมบัติในการย่อยสลาย * เซนทริโอล (Centriole) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ ช่วยในการเคลื่อนที่ของ โครโมโซมและแยกโครมาทิดแต่ละคู่ออกจากกันขณะเซลล์แบ่งตัว 2 * คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็น ออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์พืช พบในไซโทพลาซึม ของเซลล์พืชบางชนิด มีลักษณะเป็นเม็ดกลมรีสีเขียว มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น โดยเยื่อชั้นนอกทำหน้าที่ควบคุมโมเลกุล ของสารที่ผ่านเข้าออก ชั้นในมีโครงสร้างคล้ายถุงแบน ๆ เรียงซ้อนกัน ภายในมีสารสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับพลังงานแสงและ มีของเหลวที่ประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิดที่ใช้ในการ สร้างอาหารของพืช มีหน้าที่รับพลังงานแสงเพื่อใช้ใน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ถุงบรรจุคลอโรฟิลล์ เยื่อหุ้ม 2 ชั้น - โครงสร้างและส่วนประกอบของคลอโรพลาสต์ ๆ * แวคิวโอล (Vacuole) มีลักษณะเป็นถุง เยื่อหุ้มชั้นเดียว มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ในเซลล์พืชมี แซบแวคิวโอล (Sap vacuole) ทำหน้าที่สะสมน้ำและสารอื่น ๆ ทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ เช่น กรดอะมิโน น้ำตาล แร่ธาตุ สารพิษ รวมทั้งของเสียต่าง ๆ ซึ่งเซลล์พืชจะเก็บไว้ในรูปผลึก พืชที่มีอายุน้อยจะมี แวคิวโอลขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อพืชอายุมากขึ้นแวคิวโอลเหล่านี้จะรวมเป็นถุงเดียวกัน ทำให้ขนาดใหญ่ขึ้น ในเซลล์สัตว์ แวคิวโอลมีขนาดเล็กกว่าและมีจำนวนมากกว่าในเซลล์พืชทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารและน้ำ เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว มี ฟูดแวคิวโอล (Food vacuole) ทำหน้าที่บรรจุอาหารที่รับมาจากภายนอกเซลล์เพื่อย่อย สลายภายในเซลล์ ในเซลล์สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม มี คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (Contractile vacuole) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำและของเสียภายในเซลล์ คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล ผนังเซลล์ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม - เยื่อหุ้มเซลล์ - พารามีเซียม แซบแวคิวโอล

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
วิทยาศาสตร์ มัธยมต้น

ช่วยย่อหน่อยนะครับ

วิทยาศาสตร์ Science H. นิตยส -ใช้โทน ทาไงหลายต้ แวคิวโอล เยื่อหุ้มเซลล์ หนัง - เซลล์พืช เซลล์สัตว์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1. ส่วนห่อหุ้มเซลล์ ได้แก่ เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) และผนังเซลล์ (Cell wall) ซีล เฉพาะในเซลล์พืช 2. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) 1. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วย 1) เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) เซลล์ของ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีเยื่อหุ้มเซลล์หุ้มอยู่ภายนอก มีลักษณะ เป็นเยื่อบาง ๆ เหนียว ประกอบด้วยสารประเภทลิขิตและ โปรตีน เยื่อหุ้มเซลล์มีรูเล็ก ๆ สามารถจำกัดขนาดของสารที่ ผ่านเข้าออกได้ จึงมีสมบัติเป็น เยื่อเลือกผ่าน (Semipermeable membrane) ซึ่งสารขนาดเล็กผ่านได้ส่วนสารขนาดใหญ่ผ่านไม่ได้ 3. นิวเคลียส (Nucleus) เยื่อหุ้มเซลล์ หน้าที่ 1. ควบคุมปริมาณและชนิดของสารบางอย่างที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ เช่น น้ำ และสารละลายต่าง ๆ 2. แสดงขอบเขตของเซลล์และห่อหุ้มส่วนประกอบในเซลล์ 2) ผนังเซลล์ (Cell wall) มีเฉพาะในเซลล์พืช เป็นโครงสร้างที่อยู่ชั้นนอกสุดห่อหุ้มเยื่อหุ้มเซลล์อีกชั้นหนึ่ง เป็นผนังแข็งแรง ซึ่งส่วนใหญ่สร้างจากสารเซลลูโลส (Cellulose) เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ทำให้เซลล์ทนทาน แข็งแรง แม้ว่าเซลล์ อาจตายไปแล้วก็ตาม และเป็นเนื้อเยื่อที่ยอมให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าและออกจากเซลล์ได้ หน้าที่ ทำให้เซลล์พืชแข็งแรงคงรูปและป้องกัน อันตรายให้กับเซลล์พืช อาหาร อากา 0 ผนังเซลล์ที่พบในคอร์กเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิต 2. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนที่อยู่ภายในเซลล์ทั้งหมดยกเว้นนิวเคลียส มีลักษณะกึ่งเหลว ส่วนใหญ่เป็นน้ำและมีสารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น น้ำตาล กรดอะมิโน โปรตีน ไขมัน และของเสียต่าง ๆ จากกิจกรรมของเซลล์ละลายและแขวนลอยอยู่ ภายในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle) กระจายอยู่ทั่วไป มีหลายชนิดและแต่ละชนิดมีรูปร่าง ลักษณะ และหน้าที่แตกต่างกันในกระบวนการ ดำรงชีวิตของเซลล์ ศ บ

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
วิทยาศาสตร์ มัธยมต้น

ช่วยหน่อยค่ะไม่เข้าใจ

A ร กิจกรรม ผลของอุณหภูมิ ตสภาพละสายไม้ของสาร จุดประสงค์ - เพื่อทดสอบผลการละลายของสารที่อุณหภูมิต่าง ๆ วัสดุอุปกรณ์ 1. บีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน 3 ใบ 2. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กันลม 3. สารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ น้ำกลั่น เอทิลแอลกอฮอล์ เกลือ น้ำตาลทราย และคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต ปฏิบั 4. กระบอกตวง 5. แท่งแก้วคนสาร 6. น้ำแข็ง - - การจาแนกประ - การกำหนดและควบคุมตัวแบ - การลดความเห็นจากข้อมูล จิตวิทยาศาสตร์ - ความสนใจ ความมีเหตุผล ช้าสวร 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน ออกแบบการทดลองเกี่ยวกับผลของอุณหภูมิต่อสภาพละลายได้ของสาร โดยใช้วัส อุปกรณ์ และสารเคมีที่กำหนดให้ โดยแผนการทดลองมีองค์ประกอบ ดังนี้ - ปัญหา - สมมติฐาน - ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม - สารเคมีและอุปกรณ์ที่ใช้ - วิธีการทดลอง - ตารางบันทึกผล 2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการทดลองที่ร่วมกันออกแบบไว้ แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อตรวจสอบความถูกต้อ แผนการทดลอง และปรับปรุงแผนการทดลองให้ถูกต้องเหมาะสม 3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองตามที่ออกแบบไว้ 4. ให้นักเรียนและกลุ่มนำเสนอผลการทดลอง คำถามท้ายกิจกรรม 1. นักเรียนเลือกสารใดเป็นตัวทำละลายและตัวละลาย เพราะเหตุใด - เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง การละลายของตัวละลายในตัวทำละลายเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร อุณหภูมิมีผลต่อสภาพละลายได้ของสารหรือไม่ อย่างไร อภิปรายผลกิจกรรม จากกิจกรรม พบว่า อุณหภูมิมีผลต่อสภาพละลายได้ของสาร ซึ่งเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ตัวละลายจะละลายในตัวท ขึ้น แต่เมื่ออุณหภูมิลดลง ตัวละลายจะละลายในตัวทำละลายได้น้อยลง

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
นาฏศิลป์ มัธยมต้น

ช่วยย่อหน่อยค่ะ

๑. ความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์และการละครกับชีวิตมนุษย์ นาฏศิลป์และการละคร เป็นศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการของมนุษย์ เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักคิดประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการล่าสัตว์ รู้จักการเปล่งเสียงสูง-ต่ำ พร้อมกับ การเคลื่อนไหวร่างกายไปตามธรรมชาติ เพื่อสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก จึงเกิดการร้องรำทำเพลงขึ้น และได้มีการสั่งสม ถ่ายทอด และสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละสังคมมาจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ใช้ศิลปะในการร้อง รำ ทำเพลง เป็นเครื่องตอบสนองทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้เกิดอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการทางด้าน จิตใจอันเนื่องมาจากความกลัวของมนุษย์ ด้วยการใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและบำรุงจิตใจ นาฏศิลป์ไทยมีลักษณะเหมือนกับศิลปะการแสดงของนานาชาติที่เริ่มต้นขึ้นด้วยระบำ รำ ฟ้อนก่อน เช่น ฟ้อนพื้นเมือง ฟ้อนบวงสรวงเทพเจ้า ฟ้อนสรรเสริญพระเกียรติของ พระมหากษัตริย์ เป็นต้น นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยได้ปรากฏหลักฐานเป็นข้อความในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า “เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกัน แต่อรัญญิกาพ้นเท้าหัวลาน ด์ บงค์กลอย ด้วยเสียงพากย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ลักษณะไทยศิลปะการแสดง, ธนาคารกรุงเทพ) ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ก็ได้มีข้อความที่กล่าวถึงความ สัมพันธ์ของนาฏศิลป์และการละครที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงใน อุตรกุรุทวีปตอนหนึ่งว่า “บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบรรลือ เพลงดุริยดนตรี บ้างดีด บ้างสี บ้างตี บ้างเป่า บ้างขับสัพพสำเนียง เสียงหมู่นักคุนจุนกัน ไปเดียรดาษ พื้นฆ้อง กลอง แตรสังข์ ระฆังกังสดาล มโหระทึก กึกก้อง ทำนุกดี” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ลักษณะไทยศิลปะ การแสดง, ธนาคารกรุงเทพ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฟ้อนรำ กับมนุษย์มีความผูกพันกันจนไม่สามารถ แยกออกจากกันได้ นับตั้งแต่พระเจ้า ที่มาของภาพ : คลังภาพ ACT. แผ่นดิน ข้าราชบริพาร และประชาชน ทั่วไป ต่อมาจึงได้มีการนำการแสดง นาฏศิลป์มาผูกเป็นเรื่องแสดง ที่เรียกกันว่า “ละคร” การละคร ตะวันออก มีความเป็ และมีสติ ความบัน มนุษย์ได้ ๒. คู่ ประเพณี และให้ค ให้เห็นถึ เป็นเครื่ วัฒนธร ปัจจุบัน เป็นอย่า ที่เด่นชัด ๒.๔ ปลูกฝังใ อันล้ำค่ มีศิลปะ ศิลปะก วัฒนธร เป็นเสมื สร้างสร ประยุก

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
1/500