ชั้นปี

วิชา

ชนิดของคำถาม

นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ใช้มาตราไหนเหรอคะ

C เพิ่มไฟล์ โจทย์ นายเอกทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งกับนายโท ในราคาไร่ละ 10,000 บาท และ ตกลง จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในเวลาอีก 1 ปีนับแต่วันทำสัญญา สัญญาจะซื้อจะขายทำด้วย วาจาแต่นายโทให้เงินมัดจำไว้แก่นายเอกจำนวน 5,000 บาทในวันที่ทำสัญญานั้น ซึ่งที่ดิน แปลงดังกล่าวนายเอกได้เช่าซื้อมาจากนายตรี และ จะจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แปลงดังกล่าวก่อนวันที่ไปทำหนังสือและจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงดังกล่าวแก่นายโท เมื่อ ครบเวลาที่ตกลงกันปรากฏว่านายเอกไม่ยอมไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ นายโทจึงนำคดี ขึ้นฟ้องศาลเพื่อบังคับให้นายเอกไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและชำระราคา นายเอก ต่อสู้ขอให้ศาลยกฟ้องอ้างว่าขณะที่ทำสัญญากับนายโท สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะเพราะนาย เอกไม่ใช่เจ้าของที่ดิน และ สัญญาซื้อขายไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หากท่าน เป็นศาลจะวินิจฉัยคดีดังกล่าวอย่างไร ?

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ช่วยวินิจฉัยหน่อยค่ะ ไม่แน่ใจว่าวินิจฉัยถูกหรือเปล่าค่ะ

นายเอกและนายโทรได้รับที่ดินมรดกมาจํานวน 20 ไร่ ... นายเอกและนายโทรได้ไปแจ้งต่อเจ้า พนักงานที่ดินให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ออกมาเป็น 2 ส่วนคือสำหรับนายเอก 10 ไร่และ สำหรับนายโทร 10 ไร่ ... โดยนายเอกและนาย โทรรู้ทั้งรู้ว่ายังมีนายตรีอีก 1 คนที่เป็นทายาทซึ่ง ต้องได้รับมรดกในที่ดิน 20 ไร่ แต่นายเอกและ นายโทรก็ยืนยันต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่ามีเพียง ตน 2 คนเท่านั้นที่ได้รับมรดกคือที่ดิน 20 ไร่ นี้ ... เจ้าพนักงานที่ดินเชื่อคําของนายเอกและ นายโทรจึงได้ออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินให้กับ นายเอกและนายโทรคนละ 10 ไร่ ทำให้นายตรี ทายาทอีกคนนึงไม่ได้รับส่วนแบ่งใดๆในมรดก ที่ดินดังกล่าว ... พอเจ้าพนักงานที่ดินได้ทําการ ออกโฉนดให้นายเอกและนายโทรแล้วเสร็จนาย เอกดีใจมากจึงได้มอบเงินจำนวน 10,000 บาท ให้กับเจ้าพนักงานที่ดินผู้นั้นและซึ่งเจ้าพนักงาน ให้นักศึกษาวินิจฉัยการกระทําของนายเอกและ นายโทและเจ้าพนักงานที่ดินดังกล่าว ที่ดินผู้นั้นก็รับไว้แต่โดยดี

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย

วินิจฉัย?

จำเลยถูกฟ้องข้อหากระทำผิดฐานค้ายาเสพติดต่อศาลอาญาธนบุรี ต่อมาได้ร้องขอให้ศาล อาญาส่งคำโต้แย้งของจำเลยเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับหนึ่งตราขึ้นโดยขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง หรือไม่ เพราะพระราชกำหนดดังกล่าวตราขึ้นโดย มิได้ระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย ศาลอาญาพิจารณาแล้วจึงส่งเรื่อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำร้องของจำเลย ให้วินิจฉัยว่า 1. ในระหว่างที่ศาลอาญาได้ส่งความเห็นและคำโต้แย้งของจำเลยให้ศาลรัฐธรรมนูญ ศาล อาญาจะนําเนินการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้หรือไม่อย่างไร อธิบายให้ละเอียด 2. ในกรณีดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญจะต้องวินิจฉัยคำร้องของจำเลยหรือไม่ เป็นกรณี

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
1/7