สาเหตุตามธรรมชาติ
ความแข็งแรงของดิน
โครงสร้างของแผ่นดิน ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซืมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้
ความลาดเอียงของพื้นที่
ปริมาณน้ำฝน มีฝนตกมากเป็นเวลานานๆ (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน)
ฤดูกาล
ต้นไม้ถูกทำลายโดยไฟป่าหรือความแล้ง
แผ่นดินไหว
คลื่นสึนามิ
ภูเขาไฟระเบิด
การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน
การสึกกร่อนของชั้นหินใต้ดิน
การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ฝั่งทะเล และไหล่ทวีป
สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
การขุดดินบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา เพื่อการเกษตร การสร้างถนน การขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน การทำเหมือง เป็นต้น
การดูดทรายจากแม่น้ำ หรือบนแผ่นดิน
การขุดดินลึกๆ เพื่อการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร
การบดอัดที่ดิน เพื่อการก่อสร้าง ทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง
การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาล ที่มากเกินไป หรือการอัดน้ำลงใต้ดิน
การถมดิน เพื่อการก่อสร้าง ทำให้เพิ่มน้ำหนักบนภูเขา หรือสันเขา
การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูก
อ้างอิง:https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/1