๑. ความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์และการละครกับชีวิตมนุษย์
นาฏศิลป์และการละคร เป็นศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการของมนุษย์
เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักคิดประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการล่าสัตว์ รู้จักการเปล่งเสียงสูง-ต่ำ พร้อมกับ
การเคลื่อนไหวร่างกายไปตามธรรมชาติ เพื่อสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก จึงเกิดการร้องรำทำเพลงขึ้น
และได้มีการสั่งสม ถ่ายทอด และสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละสังคมมาจนถึงปัจจุบัน
มนุษย์ใช้ศิลปะในการร้อง รำ ทำเพลง เป็นเครื่องตอบสนองทางด้านร่างกายและจิตใจ
ให้เกิดอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการทางด้าน
จิตใจอันเนื่องมาจากความกลัวของมนุษย์ ด้วยการใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและบำรุงจิตใจ
นาฏศิลป์ไทยมีลักษณะเหมือนกับศิลปะการแสดงของนานาชาติที่เริ่มต้นขึ้นด้วยระบำ
รำ ฟ้อนก่อน เช่น ฟ้อนพื้นเมือง ฟ้อนบวงสรวงเทพเจ้า ฟ้อนสรรเสริญพระเกียรติของ
พระมหากษัตริย์ เป็นต้น นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยได้ปรากฏหลักฐานเป็นข้อความในหลักศิลาจารึก
ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า “เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกัน แต่อรัญญิกาพ้นเท้าหัวลาน ด์ บงค์กลอย
ด้วยเสียงพากย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน
เลื่อน” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ลักษณะไทยศิลปะการแสดง, ธนาคารกรุงเทพ)
ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ก็ได้มีข้อความที่กล่าวถึงความ
สัมพันธ์ของนาฏศิลป์และการละครที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงใน
อุตรกุรุทวีปตอนหนึ่งว่า “บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบรรลือ เพลงดุริยดนตรี
บ้างดีด บ้างสี บ้างตี บ้างเป่า บ้างขับสัพพสำเนียง เสียงหมู่นักคุนจุนกัน
ไปเดียรดาษ พื้นฆ้อง กลอง แตรสังข์ ระฆังกังสดาล มโหระทึก
กึกก้อง ทำนุกดี” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ลักษณะไทยศิลปะ
การแสดง, ธนาคารกรุงเทพ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฟ้อนรำ
กับมนุษย์มีความผูกพันกันจนไม่สามารถ
แยกออกจากกันได้ นับตั้งแต่พระเจ้า
ที่มาของภาพ : คลังภาพ ACT.
แผ่นดิน ข้าราชบริพาร และประชาชน
ทั่วไป ต่อมาจึงได้มีการนำการแสดง
นาฏศิลป์มาผูกเป็นเรื่องแสดง
ที่เรียกกันว่า “ละคร”
การละคร
ตะวันออก
มีความเป็
และมีสติ
ความบัน
มนุษย์ได้
๒. คู่
ประเพณี
และให้ค
ให้เห็นถึ
เป็นเครื่
วัฒนธร
ปัจจุบัน
เป็นอย่า
ที่เด่นชัด
๒.๔
ปลูกฝังใ
อันล้ำค่
มีศิลปะ
ศิลปะก
วัฒนธร
เป็นเสมื
สร้างสร
ประยุก