นิติศาสตร์
มหาวิทยาลัย

มีใครพอจะช่วยอธิบายข้อนี้ให้ได้ไหมคะ
-กระทำความผิดบนอากาศยานไทย ไม่ว่ากระทำที่ใด นับเป็นความผิดในราชอาณาจักรไทย แล้วทำไมข้อนี้ถึงไม่นับอะคะ

@ ข้อใดต่อไปนี้แพ่ใช่กรณีที่ถือว่านายแทาได้กระทําความ ผิดในราชอาญาจักรไทย ก. นายเทาข์มขีนนางสาวแก้ว อากาศยานไทยที่บินอยู่เหนือน่านฟ้าของ ประเทศมาเลเซีย ข. นายเทาข่มขืนนางสาวไดแอน ซึ่งเป็น ชาวอเมริกัน บนอากาศยานไทยที่บินอยู่เหนือ น่านฟ้าของประเทศมาเลเซีย ค. นายแทาข่มขีนนางสาวไดแอน ซึ่งเป็น ชาวอเมริกภันบนอากาศยานมาเลเซียที่บินอยู่ เแหนือน่านฟ้าของประเทศไทย [6 จ. นายเทาข์มขืนนางสาวแก้วบขน อากาศยานไทยในขณะที่อากาศยานลังกล่าว จอดอยู่ ณ ทําอากาศยานในประเทศมาเลเซีย
กฎหมายอาญา ขอบเขตอาญา นิติศาสตร์ law
PromotionBanner

คำตอบ

ผมว่าต้องตอบ ค นะครับ

Mind

ตอนแรกเราก็ตอบข้อนั้นเหมือนกันค่ะ แต่เฉลยตอบง. เราเลยงงๆว่าทำไม

Pp Pp

ข้อค.ผิดเพราะ
การกระทำความผิดในราชอาณาจักรตาม ม.4 วรรค 1 ไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้เสียหาย ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตาม แม้การกระทำความผิดบนเรือหรืออากาศยานของต่างประเทศ หากเข้าแล่นผ่านน่านน้ำไทยหรือบินผ่าน หรือจอดในประเทศไทยก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร ตามมตรา 4 วรรคแรก เช่น นายหม่องคนพม่าลักทรัพย์นางซิงค์คนอินเดีย บนสายการบินบริทิตแอร์ไลน์ขณะจอดเติมน้ำมันที่สุวรรณภูมิ
อ้างอิงจาก : http://law007.blogspot.com/p/1-territorial-principle-2-3-4-1.html?m=1

Pp Pp

ข้อ ง ไม่ใช่เพราะ

2) หลักธงชาติ (Flag Principle)
หลักการนี้ก็เป็นหลักที่ขยายหลักดินแดนที่แต่เดิมนั้นพิจารณาว่าการกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทยหรือไม่ ซึ่งหลักธงชาตินั้นพิจารณาจากธงที่เรือชักหรือสัญชาติของอากาศยานที่จดทะเบียน[8] ซึ่งมาจากหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) ที่แต่ละรัฐต้องการคุ้มครองเรือหรืออากาศยานที่มีสัญชาติของตนเอง ไม่ว่าเรือหรืออากาศยานนั้นจะไปจอดอยู่ที่ใดก็ตาม ก็ถือว่าความผิดที่เกิดขึ้นในเรือหรืออากาศยานนั้นได้กระทำในราชอาณาจักร
มาตรา 4 วรรคสอง “การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร”

แต่ การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ตาม ม.4 วรรคสองนั้นจะนำมาพิจารณาก็ต่อเมื่อไม่ใช่ความผิดที่กระทำในราชอาณาจักรตามมาตรา 4 วรรคแรก เช่น นายซาโตะคนญี่ปุ่นลักทรัพย์นายลีคนเกาหลี บนเครื่องบินสายการบินไทย ขณะบินอยู่เหนือจังหวัดเชียงใหม่ กรณีเช่นนี้เป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจ้กร มาตรา 4 วรรคแรก แต่หากนายซาโตะคนญี่ปุ่นลักทรัพย์นายลีคนเกาหลี บนเครื่องบินสายการบินไทย ขณะบินอยู่เหนือประเทศ

Pp Pp

ขณะบินอยู่เหนือประเทศลาว กรณีเช่นนี้ไม่ใช่การกระทำความผิดในราชอาณาจักร เพราะไม่ได้ทำบนดินแดนของไทย แต่เมื่อได้กระทำควาผิดในอากาศยานไทยก็ลงโทษผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญาของไทยได้ ตามมาตรา 4 วรรค 2

Pp Pp

ถ้าดูข้อ ค การกระทำความผิดถึงแม้จะไม่ใช่เรือไทยหรืออากาศยานไทย หรือคนไทย แต่กระทำความผิดในราชอาณาจักร ตาม มาตรา 4 วรรคแรก ที่หมายถึงดินแดนทั้งหมด รวมไปถึงที่ยื่นออกไปทางทะเล และที่ขึ้นไปบนฟ้า และที่นับลงมาจากพื้นดิน ถือเป็นอาณาจักรไทย เหตุเกิดในน่านฟ้าไทยจึงถือว่าเกิดในราชอาณาจักรตามมาตรา 4 วรรคแรก
ข้อ ก ข ง เหตุเกิดขึ้นโดยใช้นิยามของมาตรา 4 วรรคแรกไม่ได้ เพราะเกิดนอกราชอาณาจักร จึงใช้มาตรา 4 วรรค 2 เกิดขึ้นในอากาศยานไทย ถือว่าเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร

Pp Pp

เดานะ

แสดงความคิดเห็น
ข้อสงสัยของคุณเคลียร์แล้วหรือยัง?

เมื่อดูคำถามนี้แล้ว
ก็จะเจอคำถามเหล่านี้ด้วย😉