เคมี
มัธยมปลาย
เคลียร์แล้ว

ช่วยหน่อยค่ะ สอบถามผู้รู้ค่ะ

ใบงาน เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. จงขีดเส้นใต้คำที่อยู่ในวงเล็บที่ทำให้ข้อความต่อไปนี้มีความถูกต้อง พันธะโคเวเลนต์เกิดจากการรวมตัวของอะตอมของธาตุต่าง ๆ ระหว่างอโลหะกับ (โลหะ/อโลหะ) โดย เกิดการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเป็นคู่ ๆ เมื่ออะตอมของธาตุใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน จะทำให้อะตอมมีความ (เสถียร/อิสระ) มากขึ้น การที่อะตอมจะมี มีลักษณะดังกล่าวได้ (เวเลนซ์อิเล็กตรอน/อิเล็กตรอน) ต้องมีค่า เท่ากับ 8 เหมือน (ธาตุแฮโลเจน/แก๊สเฉื่อย) โดยการรวมกันเป็นโมเลกุลของธาตุ อะตอมของธาตุจะเคลื่อนที่เข้า มาใกล้กันทำให้เกิด (แรงผลัก/แรงดึงดูด) ระหว่างอิเล็กตรอนของอะตอมหนึ่งกับอิเล็กตรอนของอีกอะตอมหนึ่ง และเกิด (แรงผลัก/แรงดึงดูด) ระหว่างอิเล็กตรอนอะตอมหนึ่งกับโปรตอนในนิวเคลียสของอีกอะตอมหนึ่ง ซึ่ง เมื่ออะตอมทั้งสองเคลื่อนที่เข้ามาใกล้กันมีระยะห่างระหว่างนิวเคลียสมีความเหมาะสมในการเกิดพันธะ พบว่า แรงดึงดูดมีค่าเท่ากับแรงผลักทาให้พลังงานศักย์ของอะตอมมีค่า (ลดลง/เพิ่มขึ้น) 2. พันธะโคเวเลนต์ มีกี่ชนิด อะไรบ้าง ยกตัวอย่างประกอบ 3. จงเขียนสูตรโมเลกุลของสารประกอบโคเวเลนต์ต่อไปนี้ สูตรโมเลกุล ไดไนโตรเจนไตรออกไซด์ ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไดฟอสฟอรัสเพนตะออกไซด์ ไนโตรเจนไตรคลอไรต์
4. แรงยึดเหี่ยวซึ่งเกิดขึ้นระหว่างโมเลกุลของสารประกอบโคเวเลนต์ได้แก่แรงชนิดใดบ้าง และแรงต่าง ๆ มีลักษณะ อย่างไร 5. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ ข้อใดถูกเขียนเครื่องหมาย / หรือข้อใดผิดเขียนเครื่องหมาย X สาเหตุที่ทำให้จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารประกอบโคเวเลนซ์ต่ำ เพราะ แรงยึดเหนี่ยวระหว่าง โมเลกุลต่ำ สารประกอบโคเวเลนต์นำไฟฟ้าในสถานะแก๊สเท่านั้น สารประกอบโคเวเลนต์มีทิศทางของพันธะไม่แน่นอน แต่มีรูปร่างโมเลกุลแน่นอน การเกิดปฏิกิริยาของสารประกอบโคเวเลนต์จะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ สารประกอบโคเวเลนต์ส่วนใหญ่ละลายน้ำได้น้อย สารโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว จะมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ ๆ เพราะโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงลอนดอน อย่างเดียวเท่านั้น โครงสร้างเป็นโครงผลึกร่างตาข่าย เช่น เพชร แกรไฟต์ จะมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง
ใบงาน เรื่อง พันธะไอออนิก คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. จงอธิบายการเกิดพันธะไอออนิก 2. จงเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากการรวมตัวระหว่างธาตุต่อไปนี้ ธาตุองค์ประกอบ โพแทสเซียมกับคลอรีน สูตรสารประกอบไอออนิก แคลเซียมกับไอโอดีน สทรอนเชียมกับออกซิเจน ซีเซียมกับกำมะถัน อะลูมิเนียมกับไฮโดรเจน 3. เพราะเหตุใด สารประกอบไอออกนิกจึงแตกหักง่าย 4. สมบัติการนำไฟฟ้าของสารประกอบไอออนิกในสถานะที่เป็นของแข็งและของเหลวแตกต่างกันหรือไม่ จงอธิบาย 5. จงยกตัวอย่างสมบัติของโลหะ มาพอสังเขป

คำตอบ

✨ คำตอบที่ดีที่สุด ✨

พันธะไอออนิก
1.โลหะและอโลหะที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่ครบ8 มาจับกันและสร้างพันธะ(ไอออนิก)ต่อกันกลายเป็นสารประกอบไอออนิก /โลหะชอบให้e- อโลหะชอบรับค่ะ
3.เพราะสปก.ไอออนิกมีความแข็งแต่เปราะ ถ้าทุบก็ทำได้แตกได้(เช่นเกลือแกงที่เรากินได้ค่ะ) ปกติสปก.ไอออนิกจะอยู่ในรูปร่างโคลงผนึกเลยแตกง่ายเพียงแค่ทุบค่ะ
4.ต่างกันเพราะสปก.ไอออนิกไม่นำไฟฟ้าถ้าอยู่ในรูปของแข็งอุณหภูมิห้อง จะนำไฟฟ้าได้ต่อเมื่อมันหลอมเหลว(คือสารแยกตัวออกจากกันนะคะให้ไอออนแยกออกจากกัน) หรือละลายในน้ำ(ต้องมีน้ำเป็นตัวทำละลาย) เพราะถ้าละลายแล้วโครงผลึกจะถูกทำลายแล้วไอออน + - ก็จะแตกออกจากกันและเคลื่อนที่อิสระจึงเกิดการนำไฟฟ้า
2.KCl , CaI(ห้อย)2 , SrO , Cs(ห้อย)2S , เราไม่แน่ใจค่ะㅠㅠ

yoonmin_1995

ขอบคุณค่ะ

แสดงความคิดเห็น
PromotionBanner
ข้อสงสัยของคุณเคลียร์แล้วหรือยัง?

เมื่อดูคำถามนี้แล้ว
ก็จะเจอคำถามเหล่านี้ด้วย😉