ฟิสิกส์
มัธยมปลาย

ช่วยแก้โจทย์ข้อนี้ให้หน่อยค่ะพอดีไม่เข้าใจ เรื่องการประยุกต์ใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

2
PromotionBanner

คำตอบ

อันนี้พี่ขอแถมวิธีคิดด้วย
ถ้าสมมติเปลี่ยนประโยคจาก วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง เป็นวัตถุที่หยุดนิ่งแล้ววัตถุยังคงหยุดนิ่ง
ตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตัน เมื่อวัตถุหยุดนิ่ง แสดงว่าแรงลัพธ์ที่มากระทำต่อวัตถุ = 0 เขียนเป็นสมการได้ว่า
Fลัพธ์ = 0
จากโจทย์เราจะรู้ว่า
มีแรงสองแรงกระทำต่อวัตถุ
สมมติให้ แรง F1 มีทิศไปข้างหน้า
อีก แรง F2มีทิศไปข้างหลัง(เพราะทิศของแรงตรงข้ามกัน)
เพื่อให้คำนวณได้ จะแทนทิศของแรงในระนาบด้วยเครื่องหมายบวกหรือลบ
ถ้าให้ F1 เป็นบวก F2 ก็ต้องเป็นลบ ถ้าแรงสองแรงนี้รวมกันแล้วเป็น 0 แสดงว่า แรงทั้งสองมีขนาดเท่ากัน (เสมือนน้องมีเงิน 20 บาท แต่น้องเอาเงินไปซื้อขนมห่อละ 20 บาท น้องจะเหลือเงินเท่าไร คำตอบคือ 0)
F1 + (-F2) = 0
F1 = F2
สรุปคือ ผลจากการมีแรงสองแรงที่มีทิศตรงข้ามกันและขนาดเท่ากันมากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะไม่เคลื่อนที่ หรือ จะหยุดนิ่ง
แต่เมื่อแรงสองแรงที่มีทิศจรงข้ามกันแต่ขนาดไม่เท่ากัน วัตถุจะเคลื่อนที่ไปในทิศเดียวกับแรงที่มีขนาดมากกว่า
ซึ่งตรงกับกฎข้อ 2 ของนิวตัน
เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุจะไม่เท่ากับ 0 และสามารถหาขนาดของแรงลัพธ์ได้จาก
F ลัพธ์ = ma
เมื่อ m คือ มวลของวัตถุ และเป็นหน่วย kg เท่านั้น
ส่วน a คือ ความเร่งของวัตถุ
โดยที่ ทิศของแรงลัพธ์มีทิศเดียวกันกับทิศของความเร่ง (อันนี้ค่อยหาได้)
ดั้งนั่น จากข้อมูลในโจทย์
F ลัพธ์ = ma
200 + F2 = 40(3)
F2 = 120 - 200
F2 = -80
หน่วยของแรง คือ นิวตันค่ะ
แสดงว่า F2 มีขนาดของแรงเป็น 80 นิวตัน ส่วน F1 มีขนาด 200 นิวตัน การเคลื่อนของวัตถุจะเคลื่อนที่ไปทิศเดียวกับทิศแรงลัพธ์ หรือแรงที่มากกว่า ดังนั้น a จึงมีค่าเป็นบวกเหมือนกับแรง F1 ส่วน F2 มีค่าเป็นลบเพราะมีทิศตรงข้ามกับ F1

ผู้เยี่ยมชม

ขอบคุณค่ะ พอจะเข้าใจเรื่องนี้เเล้วค่ะ😊

แสดงความคิดเห็น
ข้อสงสัยของคุณเคลียร์แล้วหรือยัง?

เมื่อดูคำถามนี้แล้ว
ก็จะเจอคำถามเหล่านี้ด้วย😉