คณิตศาสตร์
มัธยมต้น
เคลียร์แล้ว

คือ..วันนี้เราเรียนเรื่อง นิพจน์ ซึ่งเราไม่เข้าใจเลยค่ะ ในภาพด้านล่างคือ 👇เนื้อหาที่ครูสอนเรา อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ ใครก็ได้ช่วยอธิบายเนื้อหา อธิบายข้อมูลทุกอย่างให้หน่อยค่ะ พยายามแล้วแต่ไม่เข้าใจจริงๆค่ะ👉👈😞

นิพงน์ คือ ข้อความที่เป้นนให้อยู่ในรูปสมลกษณ์ต่างๆ แรต่ เทาง พัชคนิต จะมีการเชตัวอักษร เช่น 4,b, , ค, 8,0 แทนจำนวน คว่าง ๆ ที่เรต้องการ 3, เซ, 449, 9, ี) , คืง นพจน์ที่สามารถเขัยนให้อยู่ในรูปการคุณvองต่าดงตาวกับตัวแปร ตั้งแต่นึ่งตัวีนไป โดยที่เคทลังNตวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์ หรัว จำนวนเติมบวก Ex. 3, -9, 5x, -2, เ 3-3- , -4 = -4 นิมณ์ต่อไปนี้ไม่ใช่เอกนาม 5 - 283
สรุป เอกนามประกอบด้วย โดยเคท่ล 6 ส่นที่เป็นคองตวัดนภับส่วนที่อยูในรูปvองตัวแปะ โดยเคขด้ สวย @ เร็นกผลบวกขงเลพกสังveงตัวแปรทุ้งหมด ในเอkายว่า ดักร สวประสำ์ ดีกร 3 -0.5 -0.5x 7 เอกนามคลัษกัน 9 เoกนามหัวสมปัตัวแปรดเดียวกัน 2 เลขกำลังvoงตวแปรเส้ทวกันในแรดะเอnuามเท่ากัน จงพัจารณาว่าเอกนคม กล่าตะคู่คค้ายกันหรือไม่ 2 วิ, -24 คล้าย คลาย. 4, 2 2y , 2xy ไม่คล้วย เ ห ไม่กลาย 3 -2% ไม่กล้าย
นิพจน์ คณิตศาสตร์

คำตอบ

✨ คำตอบที่ดีที่สุด ✨

ถ้าแบบง่าย ๆ นิพจน์มันก็คือชื่อเรียกพวกประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์นั่นแหละ เนื่องจากยิ่งเรียนสูงขึ้น ประโยคทางคณิตศาสตร์มันยากขึ้น มีทั้งตัวเลข ทั้งตัวแปร ทั้งเครื่องหมาย มันเยอะ เค้าก็เลยเรียกข้อความพวกนี้หรือประโยคพวกนี้ว่านิพจน์ค่ะ (ที่ไม่ใช้คำว่าประโยคสัญลักษณ์คิดว่ามันแอดวานซ์ขึ้นค่ะ ประโยคสัญลักษณ์จะเห็นได้ตามการแสดงวิธีทำทางคณิตศาสตร์ในเด็กช่วงชั้นประถมศึกษา พอมัธยมก็ต้องเข้าใจมากขึ้น ชื่อเรียกก็ทางการขึ้นอะไรแบบนี้มั้งคะ)

ทีนี้เอกนาม มันเป็นพิพจน์ที่เขียนในรูปการคูณกันระหว่างตัวเลขกับตัวแปรค่ะ จะสังเกตเห็นได้ว่าในตัวเอง จะมีเพียงแต่ตัวเลข หรือตัวเลขตัวแปรเพียงชุดเดียว เห็นมั้ยคะ
เช่น -2xกำลัง2 ตัวเลขคือ -2 ตัวแปรคือ x ที่มีเลขชี้กำลัง 2 เห็นมั้ยคะ ตัวเลขกับตัวแปรมันติดกัน เป็นชุดเดียวกัน (ถ้ามีการเชื่อมกันระหว่างเอกนาม 2 เอกนาม เช่น 3x + 2y หรือ 5 - 7y เค้าจะเรียกว่าพหุนามค่ะ)
อย่างที่เห็น เอกนามจะประกอบด้วยตัวเลขกับตัวแปรใช่มั้ยคะ ตัวเลขที่เห็น เค้าเรียกว่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรค่ะและเลขยกกำลังของตัวแปรหรือเลขชี้กำลังของตัวแปร เค้าเรียกว่าดีกรีค่ะ มีตัวแปรกี่ตัว มีเลขชี้กำลังกี่ตัว ตัวละเท่าไหร่ก็นำมาบวกกันให้หมด จะได้ดีกรีของเอกนามนั้นค่ะ ตามในตัวอย่างเลยค่ะ

ที่นี้เอกนามคล้าย พูดง่ายๆคือมีลักษณะการเขียนคล้ายๆกัน ตัวเลขจะต่างกันก็ได้ แต่ตัวแปรต้องเป็นตัวเดียวกันที่มีเลขชี้กำลังเหมือนกัน ดีกรีเหมือนกัน ตามในตัวอย่างเลยค่ะ
เช่น 3x กับ -2x เป็นเอกนามคล้ายกัน เพราะมีตัวแปร x เหมือนกัน มีเลขชี้กำลังเท่ากัน/เหมือนกัน
อีกตัวอย่าง เช่น 7 กับ 5y ถือว่าไม่เป็นเอกนามคล้าย เพราะจากทั้ง 2 เอกนาม หรือ 2 นิพจน์ที่เห็น ฝั่ง 7 ไม่มี y แต่ฝั่ง 5 มี y ซึ่งถือว่าไม่มีตัวแปรที่เหมือนกันเลย นั่นเองค่ะ หรือจะตัวแปรเหมือนกันก็ได้ค่ะ แต่เลขชี้กำลังไม่เท่ากัน ฝั่ง 7 ที่ไม่มีตัวแปร มันก็ถือได้ว่าเป็น y ยกกำลัง 0 ส่วน 5 มี y ยกกำลัง 1 จะเห็นว่าเลขชี้กำลังของตัวแปรไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงไม่เป็นเอกนามคล้ายกันค่ะ

//พิมพ์อธิบายค่อนข้างยากพอสมควรเลย อาจจะยังไม่เข้าใจอยู่ดี ถ้ายังไงก็สามารถบอกได้นะคะ แล้วค่อยหาทางวิธีอื่นดู

(=^・ェ・^=)o

ขอบคุณค่า เดียวจะลองนั่งทำความเข้าใจดู<3

LT_Study

อาจจะงงหน่อย ๆ ไม่เข้าใจมาก ๆ 5555 ค่อย ๆ ทำความเข้าใจนะคะ ถ้าไม่ไหว ทำยังไงก็ไม่เข้าใจ ก็บอกนะคะ เผื่อหาช่องทางติดต่อแล้วพยายามสอนให้

แสดงความคิดเห็น
PromotionBanner
ข้อสงสัยของคุณเคลียร์แล้วหรือยัง?

เมื่อดูคำถามนี้แล้ว
ก็จะเจอคำถามเหล่านี้ด้วย😉