Economics
大学生・専門学校生・社会人

อยากจะรู้เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อใครพอจะใจดีมีชีสเรียนดีๆมาลงให้บ้างไหมคะ

PromotionBanner

回答

ชีทเรียนจำๆม่ได้อยู่ไหนแล้ว แต่พออธิบายได้

เงินเฟ้อ - คือเงินในระบบที่มีมากเกินไปอ่ะ (เงินในระบบคือเงินที่อยู่ในมือ ปชช. ที่ใช้จ่ายกัน) เวลาแก้ก็ต้องหาทางดึงเงินออกไปจากประชาชนให้มากๆ เวลาเงินเฟ้อสังเกตได้ว่าของจะแพง

เงินฝืด - เงินในระบบที่มีน้อยเกินไป สังเกตจากการที่ร้านค้าต่างๆประกาศลดราคาสินค้าได้เลย ทำให้เวลาแก้ปัญหาก็ต้องทำไงก็ได้ให้เงินในระบบเพิ่มขึ้นให้ได้ ทำไงก็ได้ให้ประชาชนมีเงินในมือมากๆ

วิธีแก้ปัญหาเงินฝืดเงินเฟ้อ มี 2 วิธี คือ นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน

คนจะชอบงงกันมากว่า 2 อันนี้ต่างกันไง?
เราจะจำว่า
นโยบายการเงินอ่ะ ก็เกี่ยวกับธนาคารอ่ะ เรื่องเงินๆนี่นะ จะเป็นจำพวก การเพิ่ม/ลดอัตรารับช่วงซื้อลด การเพิ่มลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การเพิ่ม/ลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย เป็นต้น
นโยบายการคลัง จะเกี่ยวกับรัฐบาล การใช้จ่ายว่าเค้าใช้จ่ายยังไง มีหลักๆ 2 อย่าง คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล กับอัตราภาษี (เห็นมะว่ามันก็คือรายรับรายจ่ายรัฐบาลเลย)

ทีนี้เวลาแก้ปัญหาจะต้องเพิ่ม/ลดล่ะ?
ก่อนจะดูว่าเพิ่มหรือลดต้องรู้จักแจ่ละตัวก่อนเนอะ
อัตรารับช่วงซื้อลด - อันนี้คือแบบเวลา ธ.พาณิชย์อาตั๋วเงินไปแลกกับ ธ. กลาง แล้วธนาคารจะหักดอกเบี้ยออกเลย เพราะงั้นถ้าเราเพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลด จะทำให้ ธ.พาณิชย์มีเงินน้อยลง(โดนหักดอกเบี้ยเยอะนั่นเอง) พอมีเงินน้อย ก็จะปล่อยกู้ได้น้อย เงินในมือประชาชนก็จะน้อยตามถูกมะ มันก็เลยเป็นวิธีแก้เฟ้อนั่นล่ะ (ดึงเงินออกจากระบบไปเก็บที่ ธ.กลางแทน) เพราะงั้นถ้าลดอัตรรับช่วงซื้อลดก็แก้ฝืดอ่ะแหละ

อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย - คือเงินที่ ธ.กลางกำหนดให้ ธ.พาณิชย์มีเงินสำรองติด ธ. ไว้ ห้ามนำเงินนี้ไปใช้ทำอะไรเลย ไว้เผื่อเกิดปัญหา การเพิ่มอัตรานี้ ทำให้ ธ. มีเงินที่นำมาปล่อยกู้ได้น้อย อารมณ์นี้ พอปล่อยกู้น้อย ประชาชนก็กู้เงินได้น้อยอ่ะแหละ ก็เลยเอาไว้แก้เฟ้อไงล่ะ แก้ฝืดก็ตรงข้ามนะ

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ - ก็น่าจะรู้จักนะ เวลาเรากู้เงิน ธ. เราก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้เค้าอยู่แล้วใช่ป่ะล่ะ อันเนี้ย ธ. กลางตัขอความร่วมมือ ธ.พาณิชย์ว่าให้ปล่อยกู้น้อยๆนะหรือมากๆนะช่วงนี้ อ้าวววว แล้ว ธ. จะไปบังคับได้ไงอ่ะ ว่าคนจะมากู้มากหรือน้อย ก็ไม่ยากเนอะ ดอกเบี้ยไง ถ้า ดบ. ถูกเราก็อยากกู้ พอคนกู้ก็ทำให้เงินในมือประชาชนเพิ่ม ก็เนี่ยคือการเพิ่มเงินเข้าไปในระบบ ไว้แก้ฝืด ดบ.เพิ่มคนก็ไม่อยากจะกู้ ไว้แก้เฟ้อ

อัตราภาษี - หลักการเดิมๆ ถ้าเพิ่ม ก็ดึงเงินออกจากระบบ แก้เฟ้อ ถ้าลดก็แก้ฝืด (ดึงเงินออกจากระบบน้อยลง พยายามให้เงินอยู่ในมือ ปชช. มากๆ กระตุ้นให้ ปชช. มีการใช้จ่าย)

การใช้จ่ายของรัฐบาล - ถ้ารัฐใช้จ่ายมาก (ใช้ไปกับโครงการต่างๆ เช่น สร้างถนน ทำท่อระบายน้ำ บลาๆ) ก็ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น เงินก็ไหลเข้าสู่ ปชช. (เงินเข้าระบบ) ใช้แก้ฝืด

หลักการทั่วๆไปก็เท่านี้ ถ้าเข้าใจหลักการจะไม่งงเลย

この回答にコメントする
疑問は解決しましたか?

この質問を見ている人は
こちらの質問も見ています😉