ชั้นปี

วิชา

ชนิดของคำถาม

เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ช่วยสรุป แล้วก็ทำเป็นข้อๆให้หน่อยได้มั้ยคะ🙏🏻

dtac-T.Better Together 13:36 บทบัญญัติที่ 4 : คนตอบสนอ cdn.fbsbx.com 4 44%E เรียบร้อย สนองต่อสิ่งจูงใจ เนื่องจากคนตัดสินใจโดยเปรียบเทียบต้นทุนและผลประโยชน์ ดังนั้น พฤติกรรมของคนจึงเปลี่ยนเมื่อ โครงสร้างต้นทุนและผลประโยชน์เปลี่ยนไป นั่นคือ คนตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ นั่นเอง เมื่อราคาแอปเปิลสูงขึ้น คนก็ตัดสินใจซื้อลูกแพร์มากขึ้น ซื้อแอปเปิลน้อยลง เพราะต้นทุนในการได้มาซึ่งแอปเปิลสูงขึ้น ใน ขณะเดียวกัน ชาวสวนแอปเปิลตัดสินใจจ้างคนงานมากขึ้น และปลูกแอปเปิลมากขึ้น เนื่องจาก ผลประโยชน์ จากการขายแอปเปิลสูงขึ้น บทบาทหลักของสิ่งจูงใจในการกำหนดพฤติกรรมมีความสำคัญสำหรับการออกแบบ นโยบายของรัฐ(Public Policy) นโยบายของรัฐมักเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต้นทุนและผลประโยชน์ของกิจกรรม ภาคเอกชน เมื่อผู้กำหนดนโยบายล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่านโยบายรัฐอาจก่อให้เกิดผลที่ ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ตัวอย่างของผลที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจจากนโยบายของรัฐ เช่น นโยบายว่าด้วยเข็มขัด นิรภัยและระบบป้องกันความปลอดภัยรถยนต์ ในทศวรรษ 1950 รถที่มีเข็มขัดนิรภัยมีจํานวนน้อย ต่างจากใน ปัจจุบันที่รถทุกคันล้วนมีเข็มขัดนิรภัย เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงก็เพราะ "นโยบายของรัฐ" นั่นเอง ในช่วง ปลายทศวรรษ 1960 หนังสือของ Ralph Nader ที่ชื่อ “Unsafe at Any Speed” ก่อให้เกิดกระแสเกี่ยวกับความ ปลอดภัยของรถยนต์ รัฐสภาสหรัฐอเมริกาออกกฎหมายบังคับให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องสร้างอุปกรณ์รักษาความ ส่ ปลอดภัย ซึ่งหมายถึงรถทุกคันต้องมีอุปกรณ์มาตรฐานอย่างเข็มขัดนิรภัยด้วย กฎหมายเข็มขัดนิรภัยกระทบ ความปลอดภัยของรถยนต์อย่างไร ? ผลทางตรงในเรื่องนี้ชัดเจนอยู่แล้ว ถ้ามีเข็มขัดนิรภัยในรถทุกคัน คนก็คาด เข็มขัดนิรภัยกันมากขึ้น และโอกาสที่จะรอดจากอุบัติเหตุรถยนต์ที่มีมากขึ้น ในแง่นี้ เข็มขัดนิรภัยช่วยรักษาชีวิต ผลดีทางตรงด้านความปลอดภัยนี้จูงใจให้รัฐสภาออกกฎหมายดังกล่าว แต่การทำความเข้าใจผลทั้งหมดของ กฎหมายต้องตระหนักว่า คนเปลี่ยนพฤติกรรมโดยตอบสนองสิ่งจูงใจที่เขาเผชิญอยู่ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องใน กรณีนี้คือการขับรถเร็วและความระมัดระวังในการขับรถ การขับรถช้าและระมัดระวังมีต้นทุนเพราะสิ้นเปลือง เวลาและพลังงาน เมื่อผู้ขับขี่ที่มีเหตุมีผลตัดสินใจว่าจะขับรถอย่างปลอดภัยเพียงใด ก็จะเปรียบเทียบ ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการขับรถอย่างปลอดภัยกับต้นทุนส่วนเพิ่ม เขาจะขับรถช้าและระมัดระวังเมื่อ ผลประโยชน์จากการเพิ่มความปลอดภัยสูงกว่า นี่เป็นการอธิบายว่าทำไมคนถึงขับรถช้าและระมัดระวังขณะ ถนนลื่นมากกว่าสภาพถนนปกติ หากเราพิจารณาว่าการออกกฎหมายให้คาดเข็มขัดนิรภัยเปลี่ยนแปลงการ คำนวณต้นทุนและผลประโยชน์ของผู้ขับขี่ที่มีเหตุมีผลอย่างไร ? พบว่าเข็มขัดนิรภัยทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกว่าอุบัติเหตุ มีต้นทุนต่ำลงเพราะการคาดเข็มขัดนิรภัยช่วยลดความน่าจะเป็นในการบาดเจ็บและล้มตาย ดังนั้น เข็มขัดนิรภัย ลดผลประโยชน์จากการขับรถช้าและระมัดระวังลง ผู้ขับขี่ก็ตอบสนองต่อการใช้เข็มขัดนิรภัยโดยขับรถเร็วขึ้น และลดความระมัดระวังในการขับขี่ลง ผลสุดท้าย กฎหมายเข็มขัดนิรภัยทำให้จำนวนอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น 5 แล้วกฎหมายกระทบจำนวนคนตายจากการขับขี่อย่างไร ? ผู้ขับขี่ที่คาดเข็มขัดนิรภัยอาจมีโอกาสรอดชีวิตมาก ขึ้นจากอุบัติเหตุแต่ละครั้ง แต่โอกาสเกิดอุบัติเหตุอาจเพิ่มจำนวนมากครั้งขึ้น จำนวนคนตายสุทธิในประเด็นนี้ยัง ไม่ชัดเจน ยิ่งกว่านั้น การที่ผู้ขับขี่เลือกลดความระมัดระวังในการขับขี่ลงส่งผลกระทบทางลบต่อคนเดินถนน (และผู้ขับขี่ที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย) เพราะโอกาสเกิดอุบัติเหตุของคนเหล่านี้สูงขึ้นและไม่ได้รับการป้องกัน จากเป็นข้อมกัน ดังนั้น จอมมายว่าด้วยเข็มขัดนิรฉันมีแนวโน้มทำให้จำนวนการตายของคนเดินถนนเพิ่มสูงขึ้น 3

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มีใครพอทำได้มั้ยครับ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 1-1 กำหนดให้โคมไฟมีน้ำหนัก 220 N ถูกแขวนโดยเส้นลวด 3 เส้น ซึ่งเชื่อมต่อกันโดยใช้แหวนที่จุด A ดังที่แสดงในรูป ที่ Prob. 1-1 จงหาค่ามุม 6 ที่ทำให้หน่วยแรงตั้งฉากเฉลี่ย (average normal stress) ในเส้นลวด AC เป็นสองเท่าของ หน่วยแรงตั้งฉากเฉลี่ยในเส้นลวด AD และจงหาค่าหน่วยแรงตั้งฉากเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในเส้นลวดทั้งสอง 6.3 mm 1.20 m 0.90 m P V A รูปที่ Prob. 1-1 1-2 กำหนดให้โครงข้อหมุน (truss) มีลักษณะดังที่แสดงในรูปที่ Prob. 1-2 จงหาหน่วยแรงตั้งฉากเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วน ต่างๆ ของโครงข้อหมุนพร้อมทั้งระบุด้วยว่าเป็นหน่วยแรงดึงหรือหน่วยแรงกดอัด เมื่อโครงข้อหมุนมีพื้นที่หน้าตัดดังต่อไปนี้ AAR = 960 mm², ABC = 516 mm², ua AAC AB = 385 mm² 1.20 m 0.90 m รูปที่ Prob. 1-2 E 45° B 8.9 mm 7.6 mm 1-3 ชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงข้อหมุน ดังที่แสดงในรูปที่ Prob. 1-3 มีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 806 mm ถ้ากำหนดให้หน่วยแรง ตั้งฉากเฉลี่ยที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนใดๆ ของโครงข้อหมุนมีค่าได้ไม่เกิน 140 MPa จงหาค่าแรง P สูงสุด P รูปที่ Prob. 1-3 F 1.20 m 2.5 kN 7 B ›COS 45° D

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย

สอบวิชาสัมมนาค่ะ ช่วยตอบหน่อยค่ะ🥺

ศึกษาทำแบบทดสอบก่อนการสอบกลางภาค โดยเขียนลงในกระดาษที่จัดไว้ให้ โดยอนุญาตให้ นักศึกษาใช้สื่อโซเชียลและตำราเอกสารได้ โดยมีเงื่อนไขห้ามมิให้นักศึกษาทำเหมือนกันและห้ามคัดลอกทุกกรณี โดยให้กล่าวแบบสรุป 1. ให้นักศึกษาอธิบายถึงขอบเขตในการศึกษาวิชานโยบายสาธารณะว่าเกี่ยวข้องกับความเป็นรัฐประศาสน 2. ศาสตร์อย่างไร พร้อมทั้งยกตัวอย่าง ให้นักศึกษาอธิบายถึงขอบเขตของรายวิชาการคลังสาธารณะหรือการคลังท้องถิ่น ทั้งในระดับประเทศ ส่วนกลางและท้องถิ่น มีบทบาทหน้าที่อย่างไร และยกตัวอย่างที่เกี่ยวกับที่มาของงบประมาณจากสูงสุด จนมาถึงต่ำสุดคือ ท้องถิ่น 3. ให้นักศึกษาอธิบายถึงโครงสร้างระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ในส่วนที่เป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น โดยสรุปมาอย่าง ย่อๆ และได้ใจความ 4. ให้นักศึกษาอธิบายถึงกฎหมายมหาชน ดังต่อไปนี้ 4.1 พระราชบัญญัติความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐในทางละเมิด พ.ศ.2539 4.2 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 4.3 4.4 ประมวลกฎหมายอาญาในส่วนของความผิดต่อเจ้าพนักงานและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ให้นักศึกษาบอกเขตอำนาจศาลทั้ง 5 ประเภท โดยประเภทที่ 5 นั้นเป็นศาลชำนัญพิเศษ ยังมีอีก 5 ประเภทให้นักศึกษาแยกเขียนมาต่างหาก

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ต้องทำเป็นแผนผังอย่างไรคะ

ใบงานการทดลองที่ 6 กรณีศึกษาทางสรีรวิทยาคลินิก เรื่อง Circulating shock วัตถุประสงค์ 1. อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาการไหลเวียนเลือดในภาวะ Circulating shock ได้ 2. ระบุหลักการและแนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะ Circulating shock บนพื้นฐานสรีรวิทยา การไหลเวียนเลือด และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและพื้นฐานทางการพยาบาลได้ 3. สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายวิเคราะห์และเลือกใช้ข้อมูลในการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและเขียนผังการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาการไหลเวียนเลือดในภาวะ Circulating shock ได้ 4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการอธิบายและเขียนผังการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดในภาวะ Circulating shock ได้ กรณีศึกษา ผู้ป่วยชายอายุ 31 ปี ถูกนำส่งโรงพยาบาลโดยอาสาสมัครกู้ภัย เนื่องจากประสบอุบัติเหตุขับมอเตอร์ไซด์ ชนกับรถบรรทุก มีแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ที่ต้นขาขวา กระดูกหักทะลุออกมาภายนอก มีเลือดออกมากแบบ Active bleeding เสียเลือดออกไปประมาณ 30% ของปริมาตรเลือดทั้งหมด และมีภาวะ Circulating shock สัญญาณชีพ T 35.5'C P 120/นาที RR 22/นาที BP 80/60 mmHg หายใจตื้น และกระสับกระส่าย ซีด เหงื่อออก ผิวหนังขึ้นแต่เย็น และปัสสาวะออกน้อย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าที่ตรวจพบ ค่าปกติ รายการ pH 7.25 7.35-7.45 Pco2 45 40 mm Hg Po2 88 90 - 100 mm Hg O, saturation 92 94 - 100 % Hct 35 40-45% แนวทางการศึกษา 1. ให้ผู้เรียนร่วมกันทบทวนบทบาทหน้าที่และกลไกการควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนใน ภาวะปกติ 2. อ่านกรณีศึกษาที่กำหนด จากนั้นนักศึกษาระบุ Hemodynamic parameter ที่ มีการ เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะปกติหรือไม่ อย่างไร ตลอดจนค้นหาประเด็นที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ Hemodynamic parameter เหล่านั้นเปลี่ยนแปลง 3. ระบุและอธิบายกลไกการควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลง Hemodynamic parameter เหล่านั้นให้กลับคืนมาสู่ภาวะปกติ/หรือหากไม่ สามารถกลับคืนมาสู่ภาวะปกติได้ ตลอดจนการทำงานของระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 4. เขียนผังแสดงลำดับของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (Sequence of physiological events)

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0