ชั้นปี

วิชา

ชนิดของคำถาม

ภาษาไทย มหาวิทยาลัย

ช่วยสรุปจากเรื่องนี้ให้หน่อยนะคะ สรุปการอ่านเพื่อประเมินค่า จากเรื่องนี้ค่ะ

คำชี้แจง : อ่านเพื่อประเมินค่า ข้อ ๒. เรื่อง มิตรภาพ คนเราล้วนมีคำนิยามในสิ่งที่เหมือนกันต่างกันไป เหมือนกับการมองเหรียญหนึ่งเหรียญแต่มองได้หลายมุม บางคนอาจจะว่ามันมี ความโค้ง บางคนอาจมองว่ามันดูเงาวาววับ บางคนอาจจะว่ามันแข็ง ฉะนั้นแล้วเราไม่ควรมองสิ่งต่างๆ เพียงด้านเดียวและไม่ควรตัดสินใจอะไร ต่างๆด้วยการมองเขาเพียงแค่ด้านเดียวเท่านั้น ก็เหมือนกับการสร้างมิตรภาพที่นับวันยิ่งหาได้ยาก หากเรามัวแต่มองเขาเพียงด้านเดียว ตัดสินเขาเพราะเขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะมีแต่เราเองที่เป็นทุกข์ พุทธศาสนาสอนมนุษย์ทุกคนว่า ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ล้วนแล้วแต่เป็น “อนัตตา” คือความไม่มีตัวตนอย่าคิดอย่าปองว่าทุกสิ่งเป็นของ ตน แม้แต่ร่างกายที่เราว่าเป็นของเราแต่เรายังไม่สามารถบังคับให้ไม่เจ็บไม่ป่วยได้ แล้วนับอะไรกับมนุษย์และสรรพสัตว์รอบกายของเราเล่า เขา มีจิตใจมีความคิดมีความรู้สึกต่างๆ ตามแบบฉบับของมนุษย์ทุกคน เราไม่สามารถไปกำหนดให้เขามาดพเนินตามเส้นทางที่เราขีดไว้ให้ได้อย่าง แน่นอน “สัพเพ ธัมมา อนัตตา สรรพสิ่งเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ เพียงแต่อ่านข้อความนี้ก็ไม่ต้องมีคำนิยามใดๆ ลงมาพ่วงท้ายก็เชื่อว่า หลายคนสามารถตีความข้อความนี้ได้ถูกต้องอย่างแน่นอน ฉะนั้นเรามาสร้างสิ่งต่างๆ รอบกายเพื่อให้เป็นมิตรที่คนเขาเรียกว่ามิตรภาพที่ดีแก่ตัว มิตรภาพไม่ได้จำกัดอยู่ที่เพื่อนที่เดินไปโรงเรียนหรือที่ทำงานแล้วเจอกันเท่านั้น เพื่อนหรือมิตรภาพนี้ยังหมายถึงสัตว์เลี้ยงของเรา เรากัน ที่คอยเป็นเพื่อนเล่นกับเราเวลาที่เราเหงา หรือแม้แต่เสาไฟที่คอยส่องแสงสว่างในช่วงเวลากลางคืนที่คอยเป็นเพื่อนที่ดีให้กับคนขับรถอีกด้วย ไม่มีที่ไหนที่เราจะไม่พบคำว่ามิตรภาพ หากมองดูแล้วมันมีความหมายมากกว่าคำนิยามตามพจนานุกรมแน่นอน หลายคนก็หลายความคิด แตกต่าง มิตรเป็นสิ่งที่ยั่งยืนในความหมายของมัน แต่ในทางกลับกันมิตรภาพกับเป็นสิ่งที่ไม่จีรังเอาเสียเลย เราลองมองรอบกายตัวเองดูแล้ว รอบกายของเรากลับไม่เคยเหมือนเดิมเลยสักวัน เหมือนกันการเดินทางที่ไม่มีที่สิ้นสุด ที่แต่ละวันเราต้องเปลี่ยนคนรู้จักร มิตรภาพ การเดินทาง ไปเรื่อย ๆ แต่ภาพของมิตรภาพความทรงจำเก่าๆก็ยังติดอยู่ที่ตรงนี้ที่เรียกว่า จิตใจ ช่วงเวลาที่หลายคนเรียกมันว่า “จุดเปลี่ยน” วัยไหนๆหรือวันไหนๆก็มีจุดเปลี่ยนกันทั้งนั้นไม่มีใครสามารถล่วงรู้อนาคต ที่จะเกินกับเราได้ เราทำได้ดีที่สุดเพียงเดินตามอย่างระมัดระวังเท่านั้น จุดเปลี่ยนนั้น ต่างศาสตร์ต่างความคิดกันไป ตามกฎหมาย แล้วเมื่อถึงอายุที่กำหนดก็จะเปลี่ยนสถานภาพ จากเด็กหญิงตัวเล็กๆ เป็นนางสาวเพียงข้ามวัน แล้วเปลี่ยนเด็กชายเป็นนายโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าตามระบบการศึกษาก็คือเปลี่ยนทุกปีที่จบการศึกษาคือปีก่อนยังเป็นนักเรียนชั้นม.5 แล้วปีนี้ไหนกลายเป็นชั้นม.6 แล้ว รวดเร็ว เหลือเกิน สิ่งที่ผ่านมาสอนอะไรเราบ้าง ทั้งความสุข ความทุกข์ อารมณ์เหงา ดีใจ ซาบซึ้ง สิ่งเหล่านี้ล้วนสอนเราผ่านคำว่ามิตรภาพ ท้งนัน หลายคนอาจเจอมิตรภาพที่ดีมาโดยตลอด กับอีกบางคนที่เจอแต่มิตรภาพที่หลอกลวงอยู่ตลอดเช่นเดียวกัน คนเคย กล่าวว่าเพื่อนเป็นกระจกส่องถึงตัวเรา ก็เหมือนเราอยู่ใกล้ใครคนคนนั้นก็จะเริ่มเปลี่ยน เราก็เริ่มเปลี่ยน จนคล้ายจะเป็นคนที่มีนิสัย ใจคอเดียวกันไปซะแล้ว หากเราเจอแต่เพื่อนที่ดี มิตรภาพที่ยั่งยืน ตัวเราเองก็มีความสุขไปด้วย แต่บางคนเจอเพื่อนที่ดีกลับผลักไส เขาออกห่างจากชีวิตด้วยทิฐิ ต่างๆที่มันเกิดขึ้นกับจิตใจเราด้วยคิดว่าเขาต่างเรา เข้ากันไม่ได้หรอก แล้วเหตุผลสารพัดมารวมกันโดย มิได้นัดหมาย จนสิ่งๆนั้นได้หลุดลอยออกไปจากชีวิต แล้วมันก็เกิดจุดเปลี่ยนตามสถานะภาพของมัน เพื่อนสัมพันธภาพตัดกันไม่ขาด คำนี้ไม่มีใครเถียง แต่บางทีเพื่อนที่ต้องการเวลาในการรักษาจิตใจที่บอบช้ำเหมือนกัน มิตรภาพไม่ได้มีแค่สิ่งสองสิ่งรอบตัวเราแต่มันเป็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา เราลองมองแล้วคิดทบทวนให้เวลากับคำว่า มิตรภาพรอบตัวของเราให้มากกว่านี้ ให้ความเข้าใจ เห็นความเป็นไปเท่านั้น แล้วเชื่อว่าอนาคตหรือทุกวันก็เป็นวันที่เราจะก้าวย่าง ไปข้างหน้าพร้อมความมั่นใจ ด้วยกำลังใจจาก “มิตรภาพ” (ปรนันท์ สีบพิมพา, JANUARY ๑๖, ๒๐๑๒)

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ช่วยสรุป แล้วก็ทำเป็นข้อๆให้หน่อยได้มั้ยคะ🙏🏻

dtac-T.Better Together 13:36 บทบัญญัติที่ 4 : คนตอบสนอ cdn.fbsbx.com 4 44%E เรียบร้อย สนองต่อสิ่งจูงใจ เนื่องจากคนตัดสินใจโดยเปรียบเทียบต้นทุนและผลประโยชน์ ดังนั้น พฤติกรรมของคนจึงเปลี่ยนเมื่อ โครงสร้างต้นทุนและผลประโยชน์เปลี่ยนไป นั่นคือ คนตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ นั่นเอง เมื่อราคาแอปเปิลสูงขึ้น คนก็ตัดสินใจซื้อลูกแพร์มากขึ้น ซื้อแอปเปิลน้อยลง เพราะต้นทุนในการได้มาซึ่งแอปเปิลสูงขึ้น ใน ขณะเดียวกัน ชาวสวนแอปเปิลตัดสินใจจ้างคนงานมากขึ้น และปลูกแอปเปิลมากขึ้น เนื่องจาก ผลประโยชน์ จากการขายแอปเปิลสูงขึ้น บทบาทหลักของสิ่งจูงใจในการกำหนดพฤติกรรมมีความสำคัญสำหรับการออกแบบ นโยบายของรัฐ(Public Policy) นโยบายของรัฐมักเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต้นทุนและผลประโยชน์ของกิจกรรม ภาคเอกชน เมื่อผู้กำหนดนโยบายล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่านโยบายรัฐอาจก่อให้เกิดผลที่ ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น ตัวอย่างของผลที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจจากนโยบายของรัฐ เช่น นโยบายว่าด้วยเข็มขัด นิรภัยและระบบป้องกันความปลอดภัยรถยนต์ ในทศวรรษ 1950 รถที่มีเข็มขัดนิรภัยมีจํานวนน้อย ต่างจากใน ปัจจุบันที่รถทุกคันล้วนมีเข็มขัดนิรภัย เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงก็เพราะ "นโยบายของรัฐ" นั่นเอง ในช่วง ปลายทศวรรษ 1960 หนังสือของ Ralph Nader ที่ชื่อ “Unsafe at Any Speed” ก่อให้เกิดกระแสเกี่ยวกับความ ปลอดภัยของรถยนต์ รัฐสภาสหรัฐอเมริกาออกกฎหมายบังคับให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องสร้างอุปกรณ์รักษาความ ส่ ปลอดภัย ซึ่งหมายถึงรถทุกคันต้องมีอุปกรณ์มาตรฐานอย่างเข็มขัดนิรภัยด้วย กฎหมายเข็มขัดนิรภัยกระทบ ความปลอดภัยของรถยนต์อย่างไร ? ผลทางตรงในเรื่องนี้ชัดเจนอยู่แล้ว ถ้ามีเข็มขัดนิรภัยในรถทุกคัน คนก็คาด เข็มขัดนิรภัยกันมากขึ้น และโอกาสที่จะรอดจากอุบัติเหตุรถยนต์ที่มีมากขึ้น ในแง่นี้ เข็มขัดนิรภัยช่วยรักษาชีวิต ผลดีทางตรงด้านความปลอดภัยนี้จูงใจให้รัฐสภาออกกฎหมายดังกล่าว แต่การทำความเข้าใจผลทั้งหมดของ กฎหมายต้องตระหนักว่า คนเปลี่ยนพฤติกรรมโดยตอบสนองสิ่งจูงใจที่เขาเผชิญอยู่ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องใน กรณีนี้คือการขับรถเร็วและความระมัดระวังในการขับรถ การขับรถช้าและระมัดระวังมีต้นทุนเพราะสิ้นเปลือง เวลาและพลังงาน เมื่อผู้ขับขี่ที่มีเหตุมีผลตัดสินใจว่าจะขับรถอย่างปลอดภัยเพียงใด ก็จะเปรียบเทียบ ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการขับรถอย่างปลอดภัยกับต้นทุนส่วนเพิ่ม เขาจะขับรถช้าและระมัดระวังเมื่อ ผลประโยชน์จากการเพิ่มความปลอดภัยสูงกว่า นี่เป็นการอธิบายว่าทำไมคนถึงขับรถช้าและระมัดระวังขณะ ถนนลื่นมากกว่าสภาพถนนปกติ หากเราพิจารณาว่าการออกกฎหมายให้คาดเข็มขัดนิรภัยเปลี่ยนแปลงการ คำนวณต้นทุนและผลประโยชน์ของผู้ขับขี่ที่มีเหตุมีผลอย่างไร ? พบว่าเข็มขัดนิรภัยทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกว่าอุบัติเหตุ มีต้นทุนต่ำลงเพราะการคาดเข็มขัดนิรภัยช่วยลดความน่าจะเป็นในการบาดเจ็บและล้มตาย ดังนั้น เข็มขัดนิรภัย ลดผลประโยชน์จากการขับรถช้าและระมัดระวังลง ผู้ขับขี่ก็ตอบสนองต่อการใช้เข็มขัดนิรภัยโดยขับรถเร็วขึ้น และลดความระมัดระวังในการขับขี่ลง ผลสุดท้าย กฎหมายเข็มขัดนิรภัยทำให้จำนวนอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น 5 แล้วกฎหมายกระทบจำนวนคนตายจากการขับขี่อย่างไร ? ผู้ขับขี่ที่คาดเข็มขัดนิรภัยอาจมีโอกาสรอดชีวิตมาก ขึ้นจากอุบัติเหตุแต่ละครั้ง แต่โอกาสเกิดอุบัติเหตุอาจเพิ่มจำนวนมากครั้งขึ้น จำนวนคนตายสุทธิในประเด็นนี้ยัง ไม่ชัดเจน ยิ่งกว่านั้น การที่ผู้ขับขี่เลือกลดความระมัดระวังในการขับขี่ลงส่งผลกระทบทางลบต่อคนเดินถนน (และผู้ขับขี่ที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย) เพราะโอกาสเกิดอุบัติเหตุของคนเหล่านี้สูงขึ้นและไม่ได้รับการป้องกัน จากเป็นข้อมกัน ดังนั้น จอมมายว่าด้วยเข็มขัดนิรฉันมีแนวโน้มทำให้จำนวนการตายของคนเดินถนนเพิ่มสูงขึ้น 3

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ช่วยทำสถิติหน่อยค่ะ🫡😓😥 ทำไม่เป็นเลยย😭

แบบฝึกหัดบทที่ 1 1. จากการสำรวจคนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง พบว่าคนงานชายและหญิงทั้งหมดมีรายจ่ายค่าอาหารเย็นเฉลี่ยค ยคนละ 44 บาท โดยแยกเป็นเพศชาย 20 คน มีรายจ่ายค่าอาหารเย็นคนละเฉลี่ยคนละ 50 บาท ส่วนคนงานหญิงมี รายจ่ายค่าอาหารเย็นเฉลี่ยคนละ 41 บาท จงหาว่าโรงงานแห่งนี้มีคนงานหญิงคน 2. สมปองขับเรือยนต์จากภูเก็ตไปเที่ยวเกาะพีพี ด้วยความเร็ว 30 กม./ชม. ในระยะทาง 60 กม. แล้วเลยไปเที่ยว เกาะปันหยีซึ่งอยู่ห่างจากเหาะพีพี 40 กม. โดยขับเรือด้วยความเร็ว 40 กม./ชม. ก่อนกลับภูเก็ตซึ่งอยู่ห่างจาก เกาะปันหยี 50 กม. ด้วยความเร็ว 25 กม./ชม. จงหาความเร็วเฉลี่ยของการเดินทางท่องเที่ยวของสมปองครั้งนี้ 3. ถ้าน้ำตาลทรายชนิดบรรจุถุงตราหนึ่ง จำนวน 10 ถุง มีน้ำหนักเฉลี่ย 278 กรัม และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.64 กรัม โดยซื้อน้ำตาลดังกล่าวจากร้าน 10 แห่ง ซึ่งมีราคาเฉลี่ย 3.50 บาท และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.15 บาท จะกล่าวได้หรือไม่ว่าน้ำตาลทรายชนิดบรรจุถุงตราดังกล่าวมีการกระจายของน้ำหนักบรรจุมากกว่าราคาจําหน่าย 4. บริษัทค้ายนต์ซึ่งจำหน่ายรถยนต์ตราหนึ่ง ต้องการให้เงินสมนาคุณแก่พนักงานขายคนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน ที่มียอดขายรวม 5 ปี อยู่ในระดับแถวหน้า (หน่วย : ล้านบาท/ปี) ดังนี้ 74 72 82 69 77 75 ประณต ทัศน์ทรง ดุสิต 65 70 69 80 76 80 ถ้าบริษัทจะให้เงินสมนาคุณดังกล่าวแก่พนักงานที่มียอดขายสม่ำเสมอมากที่สุด จงหาว่าพนักงานคนใดจะได้รับ 78 84 73

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0