ชั้นปี

วิชา

ชนิดของคำถาม

แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ต้องทำเป็นแผนผังอย่างไรคะ

ใบงานการทดลองที่ 6 กรณีศึกษาทางสรีรวิทยาคลินิก เรื่อง Circulating shock วัตถุประสงค์ 1. อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาการไหลเวียนเลือดในภาวะ Circulating shock ได้ 2. ระบุหลักการและแนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะ Circulating shock บนพื้นฐานสรีรวิทยา การไหลเวียนเลือด และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและพื้นฐานทางการพยาบาลได้ 3. สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายวิเคราะห์และเลือกใช้ข้อมูลในการอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและเขียนผังการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาการไหลเวียนเลือดในภาวะ Circulating shock ได้ 4. ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการอธิบายและเขียนผังการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดในภาวะ Circulating shock ได้ กรณีศึกษา ผู้ป่วยชายอายุ 31 ปี ถูกนำส่งโรงพยาบาลโดยอาสาสมัครกู้ภัย เนื่องจากประสบอุบัติเหตุขับมอเตอร์ไซด์ ชนกับรถบรรทุก มีแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ที่ต้นขาขวา กระดูกหักทะลุออกมาภายนอก มีเลือดออกมากแบบ Active bleeding เสียเลือดออกไปประมาณ 30% ของปริมาตรเลือดทั้งหมด และมีภาวะ Circulating shock สัญญาณชีพ T 35.5'C P 120/นาที RR 22/นาที BP 80/60 mmHg หายใจตื้น และกระสับกระส่าย ซีด เหงื่อออก ผิวหนังขึ้นแต่เย็น และปัสสาวะออกน้อย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าที่ตรวจพบ ค่าปกติ รายการ pH 7.25 7.35-7.45 Pco2 45 40 mm Hg Po2 88 90 - 100 mm Hg O, saturation 92 94 - 100 % Hct 35 40-45% แนวทางการศึกษา 1. ให้ผู้เรียนร่วมกันทบทวนบทบาทหน้าที่และกลไกการควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนใน ภาวะปกติ 2. อ่านกรณีศึกษาที่กำหนด จากนั้นนักศึกษาระบุ Hemodynamic parameter ที่ มีการ เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะปกติหรือไม่ อย่างไร ตลอดจนค้นหาประเด็นที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ Hemodynamic parameter เหล่านั้นเปลี่ยนแปลง 3. ระบุและอธิบายกลไกการควบคุมการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลง Hemodynamic parameter เหล่านั้นให้กลับคืนมาสู่ภาวะปกติ/หรือหากไม่ สามารถกลับคืนมาสู่ภาวะปกติได้ ตลอดจนการทำงานของระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 4. เขียนผังแสดงลำดับของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว (Sequence of physiological events)

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
เคมี มหาวิทยาลัย

ช่วยหน่อยค่ะ

ผลการวิเคราะห์สารตัวอย่างหมายเลข 3F สารละลายใส ไม่มีสี เมื่อทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อหยด 6 M HCI สารละลายขุ่น เป็นสีขาวทั้งหลอด นำไปหมุนเหวี่ยง เทสารละลายส่วนใสทิ้งไป เติมน้ำกลั่นลงในตะกอน ต้มประมาณ 2 นาที แล้วคนเบาๆ พบว่าตะกอนละลายได้แต่ไม่ทั้งหมด หมุนเหวี่ยงอีกครั้งเพื่อนำสารละลายส่วนใสที่ยังร้อนอยู่มาเติม 6 M HOAC และ K,CrO, ได้สารละลายขุ่นสีเหลือง ส่วนตะกอนที่ไม่ละลายน้ำร้อนนำมาเติม 6 M NH,OH 25 หยด ตะกอนหายไปหมดได้สารละลายใส ไม่มีสี นำสารละลายมาเติม 6 M HNO, ประมาณ 40 หยด ทดสอบ ด้วยกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงสารละลายที่เคยใสกลับขุ่นและมีสีขาว

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0