Thai classic Dance
SMP

ช่วยย่อหน่อยค่ะ

๑. ความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์และการละครกับชีวิตมนุษย์ นาฏศิลป์และการละคร เป็นศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการของมนุษย์ เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักคิดประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการล่าสัตว์ รู้จักการเปล่งเสียงสูง-ต่ำ พร้อมกับ การเคลื่อนไหวร่างกายไปตามธรรมชาติ เพื่อสะท้อนอารมณ์ ความรู้สึก จึงเกิดการร้องรำทำเพลงขึ้น และได้มีการสั่งสม ถ่ายทอด และสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของแต่ละสังคมมาจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ใช้ศิลปะในการร้อง รำ ทำเพลง เป็นเครื่องตอบสนองทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้เกิดอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง สนุกสนาน นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการทางด้าน จิตใจอันเนื่องมาจากความกลัวของมนุษย์ ด้วยการใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและบำรุงจิตใจ นาฏศิลป์ไทยมีลักษณะเหมือนกับศิลปะการแสดงของนานาชาติที่เริ่มต้นขึ้นด้วยระบำ รำ ฟ้อนก่อน เช่น ฟ้อนพื้นเมือง ฟ้อนบวงสรวงเทพเจ้า ฟ้อนสรรเสริญพระเกียรติของ พระมหากษัตริย์ เป็นต้น นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยได้ปรากฏหลักฐานเป็นข้อความในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า “เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกัน แต่อรัญญิกาพ้นเท้าหัวลาน ด์ บงค์กลอย ด้วยเสียงพากย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ลักษณะไทยศิลปะการแสดง, ธนาคารกรุงเทพ) ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ก็ได้มีข้อความที่กล่าวถึงความ สัมพันธ์ของนาฏศิลป์และการละครที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงใน อุตรกุรุทวีปตอนหนึ่งว่า “บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบรรลือ เพลงดุริยดนตรี บ้างดีด บ้างสี บ้างตี บ้างเป่า บ้างขับสัพพสำเนียง เสียงหมู่นักคุนจุนกัน ไปเดียรดาษ พื้นฆ้อง กลอง แตรสังข์ ระฆังกังสดาล มโหระทึก กึกก้อง ทำนุกดี” (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ลักษณะไทยศิลปะ การแสดง, ธนาคารกรุงเทพ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฟ้อนรำ กับมนุษย์มีความผูกพันกันจนไม่สามารถ แยกออกจากกันได้ นับตั้งแต่พระเจ้า ที่มาของภาพ : คลังภาพ ACT. แผ่นดิน ข้าราชบริพาร และประชาชน ทั่วไป ต่อมาจึงได้มีการนำการแสดง นาฏศิลป์มาผูกเป็นเรื่องแสดง ที่เรียกกันว่า “ละคร” การละคร ตะวันออก มีความเป็ และมีสติ ความบัน มนุษย์ได้ ๒. คู่ ประเพณี และให้ค ให้เห็นถึ เป็นเครื่ วัฒนธร ปัจจุบัน เป็นอย่า ที่เด่นชัด ๒.๔ ปลูกฝังใ อันล้ำค่ มีศิลปะ ศิลปะก วัฒนธร เป็นเสมื สร้างสร ประยุก
ษย์ กับ x ยน วัน ใจ าน อง อีก อย วน การละครมีอยู่ทุกชาติ ทุกภาษา มนุษย์กับการละครมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น การละครมีปรากฏอยู่ในทุกกิจกรรมของมนุษย์และเป็นส่วนหนึ่งในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ทั้งละคร ตะวันออกและละครตะวันตก ล้วนถือกำเนิดมาจากพิธีบวงสรวงเทพเจ้า เมื่อมนุษย์เกิดความเครียด มีความเบื่อหน่ายในชีวิตประจำวันก็จะหันไปดูละคร จึงกล่าวได้ว่า “ละครช่วยให้มนุษย์มีความสุข และมีสติปัญญาในการที่จะคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ดังนั้น นาฏศิลป์และการละครจึงมีความสัมพันธ์กับมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะให้ทั้ง ความบันเทิง สอนบทเรียนชีวิต ให้ความฝันที่มนุษย์ปรารถนา เป็นเสมือนโลกอันงดงามที่ทำให้ มนุษย์ได้หยุดพักจากชีวิตอันแสนสับสน ๒. คุณค่าและประโยชน์ของนาฏศิลป์และการละคร นาฏศิลป์และการละครสะท้อนให้เห็นสภาพบ้านเมืองที่เพียบพร้อมไปด้วยขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่ละยุคสมัย ให้ทั้งความสนุกสนาน เบิกบานใจ และให้ความรู้ ทั้งในมิติของประวัติศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ นอกจากนี้ นาฏศิลป์และการละครยังเป็นศาสตร์ที่แสดง ให้เห็นถึงภูมิปัญญาของปรมาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์และการละคร เป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นชาติที่มีมรดกทาง วัฒนธรรม จารีตประเพณีสืบทอดต่อๆ กันมาจนถึง ปัจจุบันให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ เป็นอย่างยิ่ง คุณค่าและประโยชน์ของนาฏศิลป์และการละคร ที่เด่นชัด มีดังต่อไปนี้ ๒.๑ เป็นเครื่องบ่งชี้เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของชาติไทยที่ควร ปลูกฝังให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักและภูมิใจในสมบัติ อันล้ำค่าของชาติต่อไป ประเทศที่เจริญแล้วย่อม มีศิลปะการแสดงเป็นสมบัติประจำชาติ เพราะ ศิลปะการแสดงเป็นเครื่องบ่งชี้ให้มองเห็นถึง วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของคนในชาติ เป็นเสมือนจิตวิญญาณที่ยึดถือร่วมกัน โดยผ่านการ สร้างสรรค์ พัฒนา สั่งสม สืบทอด และนำมา ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่อง ที่มาของภาพ : หนังสือโขน อัจฉริยลักษณ์แห่งนาฏศิลป์ไทย
๘๒ ๒.๒ เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยมีอยู่ด้วยกันหลายเรื่อง เช่น การปลูกฝังจริยธรรมในเรื่องความกตัญญูต่อเทวดา ครูบาอาจารย์ โดยก่อนการฝึกหัดนาฏศิลป์ผู้ฝึกต้องทำพิธีคำนับครู ไหว้ครู เพื่อมอบตัวเป็นศิษย์ และเมื่อได้รับการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ มีความสามารถที่จะแสดงได้ ต้องผ่านพิธีครอบครู เพื่อปลูกฝังความอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้อาวุโส เพราะศิลปินที่ดีมีฝีมือจะต้องรู้จักการอ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่โอ้อวดว่ามีฝีมือเหนือกว่าผู้อื่น ก่อนออกแสดงทุกครั้งต้องทำความเคารพครูฝึกและ ผู้กำกับการแสดง เมื่อแสดงเสร็จก็ต้องขอขมาผู้อาวุโสที่มาร่วมแสดง เป็นต้น ๒ ความ ยังมุ่ง ผู้ฝึกหัดนาฏศิลป์ทุกคนต้องเข้าร่วมพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ เพื่อมอบตัวเป็นศิษย์ ซึ่งถือว่าเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ในเรื่องของความกตัญญูต่อทวยเทพและครูบาอาจารย์ ที่มาของภาพ : http://www.youtube.com/watch?v=RKqHEIGYE9U ๒.๓ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรม ทั้งพิธีของหลวงและพิธีของราษฎร์ ในการประกอบพิธีของหลวง นาฏศิลป์และการละคร จะมีส่วนสำคัญในการประกอบพิธี โดยตั้งแต่อดีตจะต้องมีการจัดการแสดงระบำ รำ ฟ้อน โขน ละครในงานพระราชพิธีต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศตามโบราณราชประเพณี เช่น พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ หรือพิธีขอฝน พระราชพิธีไล่เรือ หรือไล่น้ำ ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้น้ำลด ทำให้ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวได้ เป็นต้น ส่วนในการประกอบพิธีของราษฎร์ จะมีการใช้นาฏศิลป์และการละครในพิธีกรรมที่ เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อ เช่น พิธีกรรมและความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวกับชีวิตตั้งแต่ เกิดจนกระทั่งตาย เริ่มตั้งแต่พิธีทำขวัญเด็กแรกเกิด พิธีโกนจุก พิธีอุปสมบท พิธีมงคลสมรส และ พิธีฌาปนกิจศพก็จะต้องมีการแสดงนาฏศิลป์และการละครประกอบพิธี เป็นต้น
๘๔ ๒.๕ เป็นประโยชน์โดยตรงสำหรับผู้ศึกษาวิชานาฏศิลป์ กล่าวคือ สอนให้มีความมานะอดทน ฝึกฝนเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ผู้เรียนจะค้นพบ ศักยภาพของตนเอง และเข้าใจเนื้อหาของวิชาอย่างถ่องแท้ มีความเคารพเชื่อฟังครูอย่างมีเหตุ มีผล สาระของวิชานาฏศิลป์อย่างหนึ่งก็คือ จะให้การเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมของ สังคมในอดีต ซึ่งผู้เรียนจะต้องรู้จักหัดคิดวิเคราะห์ มีเหตุผลว่าสมควรเชื่อหรือไม่ จะได้มีความรู้ที่ ถูกต้อง สามารถอธิบายเหตุผลได้ และทำนาย หรือคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้ มีวิสัยทัศน์ที่ กว้างไกล ตลอดจนสามารถนำความรู้และประโยชน์ไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้ อย่างสมบูรณ์ กิจกรรม ศิลป์ปฏิบัติ ๔.๑ กิจกรรมที่ กิจกรรมที่ ให้นักเรียนจัดทำสมุดภาพการแสดงที่แสดงถึงการนำนาฏศิลป์และการละคร มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยให้เขียนสรุปด้วยว่าเป็นการนำนาฏศิลป์และ การละครมาประยุกต์ใช้อย่างไร ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าประวัติของศิลปินที่เป็นปูชนียบุคคลทางด้านนาฏศิลป์และ การละครที่มีบทบาทในสังคม แล้วเขียนสรุปประวัติและผลงานพอสังเขปมา ๑ ท่าน 3 2015 บุค จึงตื้ ขอ นโย ประ รับ ผู้จัด แล ควา ก็เป แล ซึ่ง ให้เ แน เกร็ดศิลป์ ความโดดเด่นของการแสดงโขน เรื่อง “รามเกียรติ์” รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีประเภทกลอนบทละครที่มีความ ยาวมากเรื่องหนึ่ง เนื้อหาในเรื่องเป็นการเทิดพระเกียรติพระราม (อวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์) นิยมนำไปแสดงในรูปแบบของ การแสดงโขน หรือการแสดงหนังใหญ่ อันเป็นการแสดงที่เป็น ศิลปะชั้นสูงที่มีขนบธรรมเนียมและมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ความโดดเด่นของการแสดงที่สร้างความตื่นตาตื่นใจในการแสดงโขน คือ การต่อสู้ระหว่างฝ่ายอธรรม (ยักษ์) และฝ่ายธรรมะ (มนุษย์ และวานร) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่ทศกัณฐ์รบกับพระราม เนื่องจากในแต่ละคราวที่ทั้ง ๒ ฝ่ายยกกองทัพออกมาสู้กัน จะแสดงให้ เห็นพลังความยิ่งใหญ่ของอำนาจและสงคราม ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่สำคัญ อย่างหนึ่งของการแสดงโขน อันจะก่อให้เกิดความงดงามตระการตา ที่มาของภาพ : http://www.pr.enjoytokyo.jp และความตื่นเต้นเร้าใจ แล สน ปัจ ให้ ที่ม
งคงมี นไทย สื่อการ เทิงใจ นเทิง ๔. แนวทางการสืบสานและอนุรักษ์นาฏศิลป์และการละคร แนวทางการสืบสานและอนุรักษ์ นาฏศิลป์และการละครที่สำคัญ คือ กระบวนการ สืบทอดองค์ความรู้ทางนาฏศิลป์ ซึ่งเป็นวิชา ทักษะที่ผู้ศึกษาจะต้องมีความอดทนเป็นอย่าง ต่างๆ าเป็น มาก และใช้เวลาในการฝึกฝนเป็นระยะเวลาที่ ละคร แบบ เรียน ารถนำ กมาย ลที่เป็น รรมดา นทางที่ วฉันใด ในชีวิต ฯธิภาพ พื่อจะได้ ยาวนาน เพื่อสืบสานภูมิปัญญาของบรรพชน ที่ได้สร้างผลงานทางด้านนาฏศิลป์และการละคร ให้คงอยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยสืบต่อไป ทั้งนี้ กระบวน การสืบทอดนาฏศิลป์และการละครในสมัยโบราณ กับปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ๔.๑ กระบวนการสืบทอด ในสมัยโบราณ พระตำหนักสูงในวังสวนกุหลาบ สถานที่ฝึกหัดโขนหลวง ละครหลวง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง ที่มาของภาพ : http://www.bloggang.com เป็นการถ่ายทอดจากครูแบบตัวต่อตัว โดยวิธีการจำ ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ครูนาฏศิลป์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก องค์ความรู้ทั้งหมดจึงรวมอยู่ในตัวครูผู้สอน ซึ่งจะสอน ศิษย์ด้วยวิธีการปฏิบัติ ในสมัยโบราณศิษย์ที่จะได้รับการถ่ายทอดวิชาจะต้องเข้าไปปฏิบัติรับใช้ที่ บ้านครู ทำงานบ้านทุกชนิด บีบนวดจนครูเห็นว่าศิษย์มีความกตัญญู มีความศรัทธาแน่วแน่ที่จะ รับการถ่ายทอดวิชา ครูก็จะสอนและมอบวิชาให้ ส่วนสถาบันที่ถ่ายทอดวิชานาฏศิลป์ในสมัยโบราณ ส่วนมากจะเป็นการถ่ายทอดกันในวัง ครูละครจะเป็นเจ้าจอมหม่อมห้าม เป็นราชนิกุล บุคคลใดได้รับบทให้แสดงเป็นตัวละครในเรื่องใด ก็จะฝึกเฉพาะบทนั้นจนเชี่ยวชาญ ต่อมาเมื่อไม่สามารถแสดงได้ก็จะฝึกสอนลูกศิษย์รุ่นใหม่ต่อไป บทเรียนในการฝึกให้เกิดทักษะ คือ เพลงหน้าพาทย์ ๔ เพลง ได้แก่ เพลงช้า เพลงเร็ว เพลงเชิด และเพลงเสมอ ระยะเวลาในการฝึกภาคปฏิบัติ จะเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าจนถึงค่ำ มีทั้งเรียน การอ่านบทละครและการฝึกปฏิบัติ ๔.๒ กระบวนการสืบทอดในสมัยปัจจุบัน การสืบทอดวิชานาฏศิลป์ในปัจจุบันจะเปิดสอนอยู่ในสถาบันการศึกษาเกือบทุกระดับ มีกระบวนการเรียนการสอนที่เป็นแบบแผน โดยจัดทำสื่อและทำกิจกรรมเพื่อประเทืองปัญญา โดยใช้ระบบการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ฝึกให้รู้จัก การสังเกต คิดวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ สร้างจินตนาการจนเกิดความคิดสร้างสรรค์และนำไปใช้ ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน ๘๗
PromotionBanner

Answers

No answer yet

Apa kebingunganmu sudah terpecahkan?

Pengguna yang melihat pertanyaan ini
juga melihat pertanyaan-pertanyaan ini 😉