ชั้นปี

ชนิดของคำถาม

เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย

1. ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ของพริกไทยมีอะไรบ้าง ? 2. ปัจจัยกำหนดอุปทานของพริกไทยมีอะไรบ้าง ? 3. รัฐบาลใช้มาตรการในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพริกไท... อ่านต่อ

ใบงานที..... อุปสงค์ อุปทานพริกไทยก่อนและหลังการเปิดตลาดภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ผกาพรรณ ศรลัมพ์, ภัสพรรณ เลาสุทแสน - สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การศึกษาอุปสงค์ อุปทานพริกไทย ก่อนและหลังการเปิดตลาดภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบสถานการณ์การผลิต และการตลาด รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออุปสงค์ และอุปทานในประเทศทั้งก่อนและหลังการเปิดเสรีทางการค้า รวมถึงคาดคะเนอุปสงค์และอุปทานพริกไทย เพื่อใช้ เป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาให้พริกไทยยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเราได้อย่าง ยั่งยืนต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการพริกไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ราคาขายปลีก และราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิตพริกไทยได้แก่ ราคาพริกไทยที่เกษตรกรขายได้ และอัตรา ค่าจ้างแรงงาน ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการนำเข้าพริกไทยของต่างประเทศ ได้แก่ ราคานำเข้าพริกไทยจากไทยและ ราคานำเข้าพริกไทยจากเวียดนาม ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการนำเข้าได้แก่ ราคานำเข้าพริกไทยเมล็ด ราคาขายส่งและ อัตราภาษีนำเข้า ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อราคาที่เกษตรกรขายได้ ได้แก่ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากการคาดคะเน ในช่วงปี 2553-2557 พบว่า ความต้องการใช้ มีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุด เฉลี่ยต่อปีร้อยละ 12.22 รองลงมาได้แก่ ราคาที่เกษตรกรขายได้และปริมาณการนำเข้า เฉลี่ยต่อปีร้อยละ 11.73 และ 2.27 ตามลำดับ ส่วนปริมาณการผลิต และความต้องการนำเข้าพริกไทยของต่างประเทศ มีอัตราลดลงค่อนข้างมากเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 19.86 และ 23,38 ตามลำดับ ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการค้าพริกไทยคือ ในปี 2553 มีมลดส่วนเกินอยู่ 344 ตัน หลังจาก นั้นในช่วงปี 2554-2557 ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้อยู่ 3,185 ตัน 2,298 ตัน 1,171 ตัน และ 2,257 ตัน ตามลำดับ แต่จากอัตราการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะบรรเทาการขาดแคลนผลิตได้ในระดับหนึ่งและพบว่า ปัจจัย ภาษีส่งผลต่อการนำเข้าค่อนข้างน้อย โดยมีค่าความยืดหยุ่นต่อการนำเข้าเท่ากับ 0.12 แสดงว่าการเปิดเสรีการค้า พริกไทยส่งแหกระทบต่อการนำเข้าไม่มากนัก แต่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเข้ามากที่สุด ราคาน้าเช้า โดยมีค่าความ ยืดหยุ่นต่อการนำเข้าเท่ากับ 2.15 ดังนั้น เพื่อบรรเทาการขาดแคลนผลผลิต รัฐบาลควรดำเนินนโยบายวางแผนการ ผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ โดยในระยะสั้น สนับสนุนให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อ ไร่ส่วนในระยะยาว เพื่อลดผลกระทบจากการนำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ควรมีมาตรการจูงใจส่งเสริมให้เกษตรกรมีการ ปลูกพริกไทยอินทรีย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี รวมทั้งให้มี การบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐฯ ผู้ประกอบการและผู้ผลิต ทั้งในเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การ แปรรูป ตลอดจนข่าวสารที่ทันสมัย คำถาม จงตอบคำถามต่อไปนี้ 1. ปัจจัยกำหนดอุปสงค์ของพริกไทยมีอะไรบ้าง ? 2. ปัจจัยกำหนดอุปทานของพริกไทยมีอะไรบ้าง ? 3. รัฐบาลใช้มาตรการในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพริกไทยอย่างไรและสอดคล้องกับมาตรการในการ แก้ปัญหาตามแนวคิด ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์อะไร ? (จงอธิบายมาพอเข้าใจ)

รอคำตอบ จำนวนคำตอบ: 0
1/1000