นิติศาสตร์
มหาวิทยาลัย

จะสรุปข่าวออกมาแนวไหน และการวิเคราะห์SMCR เราจะวิเคราะห์ยังไงค่ะ
วิชา การเมืองกับการสื่อสารทางการเมือง
ใครรู้ช่วยหน่อยนะค่ะ

Dr.Montree งานประจำสัปดาห์นี้ ให้นิสิตวิเคราะห์ การโพสแสดงความคิดเห็นของ นาย สุชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้า คณะในศาลฎีกา และ Topnews นำมา เสนอเป็นประเด็นในการสื่อสาร และ นำ SMCR มาวิเคราะห์ ลงในกระดาษ รายงาน จำนวนไม่เกินหนึ่งหน้า ส่งใน ครั้งหน้า ครับ ขอบคุณครับ 23:00
. dtac.Better Together เสร็จสิ้น 09:30 Chuchart Srisaeng.pdf @ 21%C A กรณีศึกษา “กฎหมาย” และ “ความเชื่อมโยงกันในกฎหมายหลายฉบับ Chuchart Srisaeng กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) มีข้อเท็จจริงและข้อ กฎหมายดังนี้ 1.บริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) จดทะเบียนวัตถุประสงค์ของบริษัทไว้ว่า ประกอบกิจการสื่อมวลชน ปัจจุบันไม่ได้ออกอากาศ เพราะมีคดีพิพาทกับสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา ของศาลปกครองสูงสุด แต่บริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกบริษัท 2.ตามหลักฐานแบบ บมจ.006 ซึ่งเป็นบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทมหาชนจำกัด บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า นายพิธาถือหุ้น 42,000 หุ้น โดยไม่มีข้อความว่า ถือหุ้นในฐานะผู้จัดการมรดก 3.นายพิธาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งตายเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2549 หลังจากนั้นนายพิธาได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกของนายพงษ์ศักดิ์ผู้ตาย 4. ตามคำสั่งศาลที่ตั้งนายพิธาเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมีข้อความตอนหนึ่งว่า ผู้ตายไม่ได้ทำ พินัยกรรมไว้และนายพิธาเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ซึ่งหมายความว่า 4.1 การที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของผู้ตายย่อมตกแก่ทายาททุกคน ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620 4.2 นายพิธาไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดก ไม่ได้ถูกตัดมิให้รับมรดก และไม่ได้สละมรดกของผู้ตาย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 กับมาตรา 1606 มาตรา 1608 และมาตรา 1612 ตามลำดับ 4.3 นายพิธาเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1603 ทายาททุกคนเรียบร้อยแล้ว 5. เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของผู้นั้นตกแก่ทายาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 .....การที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทรัพย์มรดกทั้งหมดรวมทั้งหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) จึงตกแก่ ทายาททุกคนของผู้ตายซึ่งรวมทั้งนายพิธาด้วย ตั้งแต่วันนายพงษ์ศักดิ์ตายคือวันที่ 18 กันยายน 2549 ทายาททุก คนจึงมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกร่วมกันจนกว่าจะได้มีการตกลงแบ่งกันหรือผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งให้แก่
. dtac.Better Together เสร็จสิ้น Chuchart Srisaeng.pdf 09:30 @ 20% 0 A .....แม้นายพิธาเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่นายพิธาก็ยังมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1603 และถ้าหุ้น บริษัท ไอทีวี จำกัด(มหาชน) 42,000 หุ้น เป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาท นายพิธาในฐานะทายาทผู้มี สิทธิรับมรดกของนายพงษ์ศักดิ์ก็ย่อมได้รับหุ้นดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์มรดกด้วย นายพิธาจึงเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับ ทายาทคนอื่น ...กล่าวโดยสรุปคือ ก่อนที่นายพิธาโอนหุ้นให้แก่นายภาษิณ ลิ้มเจริญรัตน์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ซึ่งก็ ไม่ได้ระบุว่าเป็นการโอนในฐานะผู้จัดการมรดก นายพิธาก็เป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) โดยอาจเป็นผู้ ถือหุ้นคนเดียวหรือถือหุ้นร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งก็เป็นผู้ถือหุ้นอยู่นั่นเอง ข้อเท็จจริงโดยมีเอกสารเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีผู้นำไปยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. แล้ว และ กกต.ได้ดำเนินการไต่สวนเพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินคดีแก่นายพิธาตาม พรบ.เลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 151 หรือไม่ ....ดังนั้น กกต. จึงควรต้องรีบดำเนินการไต่สวนและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยใน ประเด็นดังต่อไปนี้ด้วย คือ 1. นายพิธาเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิรับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98(3) คือเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ หรือไม่ 2. นายพิธาเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้พรรคการเมืองเสนอชื่อเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 89(2)ประกอบมาตรา 160 หรือไม่ 3. นายพิธาเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี (นายกรัฐมนตรี) ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160(6) ประกอบมาตรา 98 หรือไม่ .....4. นายพิธาเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล ตามข้อบังคับพรรคก้าวไกล พ.ศ. 2563 (แก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 1 พ.ศ. 2563) ข้อ 12 ที่มีข้อความว่า สมาชิกต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ฯลฯ (6) เป็น บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ....นายพิธาจะเป็นบุคคลต้องห้ามตามข้อ 1,2,3, และ 4 หรือไม่ ควรต้องรอฟังคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล รัฐธรรมนูญซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ตาม กฎหมายกรุณาอย่าตัดสินชี้ขาดให้ประชาชนสับสนเลยครับ คำถาม จงบอกกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามตัวอย่างข้างต้น
PromotionBanner

คำตอบ

ยังไม่มีคำตอบ

ข้อสงสัยของคุณเคลียร์แล้วหรือยัง?

เมื่อดูคำถามนี้แล้ว
ก็จะเจอคำถามเหล่านี้ด้วย😉